จ้องจอมือถือมากเสี่ยง “โรคเส้นประสาทตาอักเสบ” ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม

วิธี รักษา ประสาท ตา อักเสบ

ในยุคที่คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ไม่ว่าจะตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนเข้านอน

เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ก็ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้

แม้จะเป็นตัวช่วยทำให้เกิดความสะดวกสบายในการติดต่อ รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ถูกส่ง

ผ่านโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากต่อวัน แต่การใช้เครื่องมือเหล่านี้ตลอดทั้งวันแบบไม่ได้พัก

ทำให้สายตาเกิดความเสื่อมสภาพ สาวๆ ส่วนมากไม่ค่อยรู้ตัวกับอาการที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดความเคยชิน

ตามมาด้วยสุขภาพสายตาที่เสื่อมถอย กลายเป็นภัยเงียบ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (Optic neuritis)

ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สำหรับในยุคนี้ โรคนี้กลับมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง

อะไรคือโรคเส้นประสาทตาอักเสบ ?

โรคเส้นประสาทตาอักเสบ เป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทตา ซึ่งจะหมายถึงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2

มีชื่อเรียกว่า “Optic nerve” เมื่ออาการอักเสบเกิดขึ้น จะส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด

ส่วนของปลอกประสาทที่อยู่ในแอกซอน (Axon) ของเส้นประสาทตา นำมาซึ่งผลกระทบต่อการมองเห็น

ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นนี้มักจะพบได้ว่าเป็นอาการที่เกิดร่วมกับปลอกหุ้มเส้นประสาทตา พบได้ตั้งแต่อายุ 18-45 ปี

ไม่พบสาเหตุของโรคที่แน่ชัด แต่บางรายก็พบโรคดังกล่าวจากภาวะไขสันหลังอักเสบ

และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง ต่อต้านเนื้อเยื่อตัวเอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบ

และเสื่อมสภาพของเยื่อหุ้มเส้นประสาทตา การนำสัญญาณจากลูกตาไปยังสมอง

เพื่อทำการประมวลผลลดประสิทธิภาพลง ตามมาด้วยปัญหาการมองเห็นดังกล่าว

ลักษณะของโรคนี้สามารถพบได้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง และพบได้ในกลุ่มผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า

อย่างไรก็ตาม โรคนี้ยังเป็นที่น่ากังวล เพราะเปรียบเหมือนสัญญาณเตือนเบื้องต้นของการเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ การอักเสบเกิดบริเวณขั้วประสาทหรือจานประสาทตา (Optic disc)

และ การอักเสบด้านหลังถัดจากขั้วประสาทไปด้านหลังลูกตา (Retrobulbar optic neuritis)

สาเหตุของการเกิดโรคเส้นประสาทตาอักเสบ

เส้นประสาทตาที่เกิดการอักเสบขึ้น ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุเป็นตัวกระตุ้น

ซึ่งที่พบได้บ่อยคือ การเสื่อมสภาพของเยื่อปลอกประสาท (Myelin) มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมองส่วนกลาง

การติดเชื้อต่างๆ ในร่างกาย ที่ส่งผลกระทบไปถึงประสาทตา เช่น เอชไอวี, โรคซิฟิลิส, โรคติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด และ โรคอีสุกอีใส เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังพบได้จากสาเหตุระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเกิดความผิดปกติ (Immune – mediated optic neuritis)

และสาเหตุอื่นๆ ซึ่งอาจมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน จนทำให้ดวงตาเกิดความเสื่อมสภาพ

การกระทบกระเทือนทางสมอง ผู้ป่วยที่เป็นโรคบางชนิด บางรายอาจเกิดการอักเสบขึ้นได้ภายหลังจากฉีดวัคซีน

แต่จะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะเส้นประสาทตาอักเสบเบื้องต้น มักจะลุกลาม

กลายเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการเสื่อมสภาพของสมองและไขสันหลัง ดังนั้นหากสาวๆ พบว่าตัวเองมีการอาการของโรคดั่งกล่าว

ทางที่ดีควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาต้นตอที่อาจเกิดขึ้นจากโรคทางกายอื่นๆ ต่อไป

การแสดงอาการของโรคเส้นประสาทตาอักเสบ

สาวๆ ควรสังเกตตัวเองให้ดีว่า มีอาการที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะอักเสบของเส้นประสาทดวงตาหรือไม่

โดยอาการเบื้องต้นที่พบ มักจะเริ่มจากอาการตามัวลงอย่างเฉียบพลัน มักจะใช้เวลาประมาณ 3-10 วัน

อาการมัวพบได้มากในตาข้างเดียวมากกว่า 2 ข้าง การมองเห็นสีมีความผิดเพี้ยนไปจากเดิม สีสดจะดูหม่นลง

หรือมองเห็นสีแดงจางลงเป็นสีเทา มีอาการปวดนัยน์ตาลึกๆ และจะยิ่งเป็นมากหากกลอกตาไปมา

บางครั้งที่อยู่ในสภาพอากาศร้อน อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เช่น ในช่วงออกกำลังกาย จะทำให้เกิดตามัวขึ้นมาได้

อย่างไรก็ตาม หากกลองสังเกตอาการตามัวจากโรคนี้ ซึ่งมักจะมีการมัวเกิดขึ้นโดยเริ่มจากตรงกลางของภาพก่อน

จากนั้นจึงจะค่อยๆ ลุกลามไปด้านข้าง ส่วนในผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทตาเสื่อมแข็ง มักจะมีภาวะทางสมองร่วมด้วย

พบได้ทั้งอาการที่เกี่ยวกับแขนขามีภาวะชาหรืออ่อนแรง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ สั่น เดินไม่ตรง หรือมีอารมณ์แปรปรวนขึ้นๆ ลงๆ แบบไม่ทราบสาเหตุ

การรักษาและป้องกันการเกิดโรค

คนที่มี ความผิดปกติทางด้านสายตา ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ไม่ว่าจะเกิดกรณีใดก็ตาม

หากรู้สึกว่าตัวเองมีความผิดปกติ แม้จะพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์แล้วก็ยังไม่หายดี

อาการตามัวยังเกิดขึ้นแม้กระทั่งในช่วงออกกำลังกายหรืออยู่ในอากาศร้อน ยิ่งหากการมองเห็นลดลงอย่างเฉียบพลัน ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ รีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์โดยด่วนที่สุด

การรักษา แพทย์จะทำการตรวจวัดสายตาของผู้ป่วยที่มีตามัว จากนั้นจะทำการตรวจเพื่อดูการตอบสนองของม่านตา

ต่อแสงไฟฉายในตาข้างที่พบอาการ บางรายอาจมีการตรวจสอบภายในลูกตาร่วมด้วย เพื่อดูการอักเสบของเซลล์

รวมไปถึงการให้ผู้ป่วยทดลองกลอกตาไปมาว่ามีอาการเจ็บปวดมากขึ้นหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีการวินิจฉัย

ด้วยการตรวจอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เข้าพบแพทย์เป็นรายบุคคล

หากพบว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจากโรคเส้นประสาทตาอักเสบ การรักษาจะดูว่ามาจากการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่นใด

แพทย์จะมีการให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อลดอาการตามัวที่จะค่อยๆ หายไปภายใน 1-3 เดือน

การดูแลตนเองของผู้ป่วย ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ กินยา

และใช้ยาหยอดตาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรตัดสินใจซื้อหรือหยุดยาด้วยตัวเอง หากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง

ก็ควรรักษาโรคเหล่านั้นให้อาการไม่ทรุดลงไปจากเดิม ในระหว่างที่รักษาตา หากรู้สึกว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นก่อนนัดหมาย ก็ควรรีบเข้ารับคำปรึกษาโดยด่วน ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันนัด

ประสาทตาเสื่อม รักษา

Photo Credit : patienttalk.org

ในส่วนของการป้องกัน โรคเส้นประสาทตาอักเสบ ยังไม่มีวิธีป้องกันได้ นอกจากการพยายามดูแลตัวเอง

ใช้สายตากับจอคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง กินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา

และหากพบอาการผิดปกติ ก็ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์โดยด่วน เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจจะนำมาซึ่งการมองไม่เห็นแบบถาวรก็เป็นได้ค่ะ