โรคไส้ติ่งอักเสบ ภัยร้ายในร่างกายที่มักจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) กันมาบ้างแล้ว ซึ่งตามความเข้าใจส่วนใหญ่แล้ว มักจะเข้าใจว่า โรคไสติ่งอักเสบนั้นจะนำอาการปวดท้องมาให้ และต้องผ่าตัดออกไป แต่จริงๆ แล้วโรคนี้ยังมีความน่ากลัวอยู่ไม่น้อย ที่ทำให้เราต้องคอยรับมือ และรู้เท่าทันอาการของโรค รวมทั้งการป้องกันอย่างถูกวิธี ซึ่งวันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) มาฝากกัน สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ สำหรับสาเหตุหลักของโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น ทางการแพทย์เองก็ยังคงต้องวินิจฉัยกันอยู่ว่า แท้จริงแล้วไส้ติ่งอักเสบเกิดขึ้นจากสาเหตุใดเป็นหลัก แต่จากการวิเคราะห์แล้วพบว่า มีหลายปัจจัยที่นำมาสู่ความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ นั่นก็คือ เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนั้นมีอยู่หลายชนิดที่มีผลต่อการเกิดโรคนี้ได้ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียบที่เข้าสู่ร่างกายแล้วกระจายไปบริเวณไส้ติ่งล้วนมีผลต่ออาการได้ทั้งสิ้น การอุดตันที่ไส้ติ่ง ซึ่งก็มาจากหลายสาเหตุ เช่นการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ แล้วเกิดการตอบสนองของต่อมน้ำเหลือง ที่ส่งผลให้ขยายตัว โดยการขยายตัวของต่อมน้ำเหลืองนี้ ก็สามารถปิดกั้นไส้ติ่งจนเป็นการอุดตันได้ เศษอาหารที่ถูกหินปูนเกาะ เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็มีโอกาสที่จะนำหินปูนเหล่านั้นไปสู่ไส้ติ่งได้ ซึ่งหินปูนเองก็อาจเป็นตัวนำเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ด้วย อาการของผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบ สำหรับอาการของโรคไส้ติ่งอักเสบนั้น จะไม่แสดงอาการในทันที โดยจะมีระยะของความรุนแรงปรากฏขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตุอาการของโรคไส้ติ่งอักเสบตามระยะความรุนแรงได้ดังนี้ อาการเริ่มแรก อาจมีความรู้สึกปวดท้องแบบกะทันหันได้ โดยที่จะมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น จุก เสียด แน่นท้อง หรือเบื้ออาหาร ระยะที่สอง อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบ จะเริ่มมีอาการท้องเสีย ไอ บางรายอาจเป็นไข้ ซึ่งในระยะของอาการนี้ ไส้ติ่งจะเริ่มบวมแล้ว […]

mahosot

October 8, 2019

โรคคอตีบ โรคนี้คืออะไร ทำไมต้องมีการฉีดวัคซีน ?

โรคคอตีบ เป็นโรคที่เราอาจจะคุ้นเคย ในเรื่องของการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่วัยเด็กเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งน้อยคนนักที่จะรู้ว่า โรคคอตีบที่แท้จริงแล้ว มีอาการอย่างไร และมีอันตรายหรือไม่ ในอดีตนั้น โรคคอตีบมีการระบาดและแพร่กระจายอยู่เป็นระยะ สามารถพบได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ แต่เมื่อรัฐบาลเริ่มนำวัคซีนมาฉีดให้เด็กตั้งแต่ปี 2538 ก็พบว่า ผู้ป่วยโรคนี้มีจำนวนลดลง อย่างเป็นที่พอใจ แต่ก็ยังพบได้เป็นบางครั้ง เราจึงได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับโรคคอตีบมาให้ทำความรู้จักกันมากยิ่งขึ้น โรคคอตีบ คืออะไร ? โรคคอตีบ (Diphtheria) เป็นโรคที่มีการเรียกทับศัพท์อยู่บ่อยครั้ง ว่า โรคดิพทีเรีย ซึ่งโรคนี้ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยเชื้อโรคที่ชื่อว่า Corynbacterium Diphtheria  เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคชนิดนี้ (มีระยะฟักตัว 1-7 วัน) เริ่มแรกเชื้อโรคจะเข้าไปอยู่ตามบริเวณต่าง ๆ ของทางเดินหายใจ เช่น กล่องเสียง ลำคอ โพรงจมูก ต่อมทอนซิล เป็นต้น และจะค่อย ๆ สร้างสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในบริเวณนั้น ๆ จนเกิดการอักเสบได้ และเมื่อเชื้อโรค เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ และตายไป […]

kaewsai

November 27, 2017

วัณโรคต่อมน้ําเหลือง อาการ การรักษาและวิธีดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง

วัณโรคต่อมน้ําเหลือง หรือวัณโรคที่อยู่ใน “ต่อมน้ําเหลือง” เป็นชนิดของวัณโรคที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นหู และมักจะเคยได้ยินแต่วัณโรคปอดกันเป็นหลัก แต่นี่คือหนึ่งในโรคที่พบได้มากและเป็นอันตราย ซึ่งเป็นลักษณะของวัณโรคที่อยู่นอกปอด สามารถพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในทุกช่วงอายุ กรณีที่แพทย์พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ก็จะมีการตรวจเช็คปอดด้วยว่า มีการติดเชื้อร่วมกันหรือไม่ ทั้งนี้อาการของโรคชนิดนี้จะแตกต่างจากวัณโรคปอดมากน้อยแค่ไหน และเราจะรับมือกันอย่างไรเมื่อติดเชื้อขึ้นมา ลองมาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น จะได้รีบทำการรักษาได้ทันก่อนจะลุกลามมากขึ้นค่ะ โรค วัณโรคต่อมน้ําเหลือง คืออะไร ? โรควัณโรคต่อมน้ำเหลือง หรือ วัณโรคต่อมน้ำเหลืองที่คอ ถือว่าเป็นวัณโรคชนิดหนึ่งที่อยู่ภายนอกปอด พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะในชุมชนแออัด สามารถเป็นๆ หายๆ ชนิดเรื้อรังได้ แม้จะทำการรักษามาเป็นอย่างดีแล้ว หากผู้ป่วยดูแลตัวเองไม่ดี อาจอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม การรักษาตัวเองให้เหมาะสม กินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นและกลับมาหายเป็นปกติได้ ส่วนใหญ่การเกิดวัณโรคจะมาจากการติดเชื้อหลายชนิด ผู้คนที่อยู่อาศัยในสภาพอากาศที่ไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ๆ มีการทำความสะอาดได้ไม่ถูกสุขลักษณะ อากาศเต็มไปด้วยมลพิษ โดยมีเชื้อที่เรียกว่า “tuberculosis“ เป็นตัวการทำให้เกิด เป็นเชื้อโรคที่ทนต่อสภาพแวดล้อมเกือบทุกชนิดได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะหนาว ร้อน หรืออากาศชื้น ก็สามารถแพร่กระจาย และเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วทีเดียว ลักษณะของวัณโรคต่อมน้ำเหลืองคือ จะปรากฏอาการที่คอ ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองขนาดใหญ่ ก่อนจะแพร่ขยายเชื้อลุกลามต่อไปยังขากรรไกร ไหปลาร้า และรักแร้ ทำให้เกิดอาการบวมโตของต่อมน้ำเหลืองมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ช่วงแรกผู้ป่วยอาจคิดว่าเป็นอาการของฝี […]

admin24

December 8, 2016

ต่อมน้ําลายอักเสบ มีอาการ สาเหตุและการรักษาอย่างไรบ้าง?

ต่อมน้ําลาย (ภาษาอังกฤษ: Inflammatory salivary glands) คือส่วนของต่อมที่ใช้สำหรับสร้างน้ําลายทำให้ภายในช่องปากเกิดความชุ่มชื้น และยังเป็นตัวช่วยให้การเคี้ยวอาหารสะดวก ช่วยคลุกเคล้าอาหารและช่วยย่อยไปในตัว ตามปกติต่อมน้ําลาย จะมีการสร้างปริมาณน้ําลายออกมาในสัดส่วนที่เพียงพอกับการนำไปใช้ ตำแหน่งของต่อมชนิดนี้พบได้ที่ กกหู (Parotid gland) จะสร้างน้ําลายแบบใส, ขากรรไกรล่าง (Submaxillary gland หรือ Submandibular gland) จะสร้างน้ําลายทั้งชนิดเหนียวและใส เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ําลายมากที่สุด และสุดท้ายคือใต้ลิ้น (Sublingual gland) จะสร้างน้ําลายชนิดเหนียวมากกว่าชนิดใส แต่ในกรณีที่เกิดโรคต่อมน้ําลายอักเสบ จะทำให้การผลิตน้ําลายผิดปกติ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการอักเสบ ตำแหน่งที่เกิดขึ้น และระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ที่การอักเสบอาจแปรสภาพไปเป็นมะเร็งได้เลยทีเดียวค่ะ ลักษณะของต่อมน้ําลายอักเสบ โรคต่อมน้ําลายอักเสบ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคคางทูม ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มาจากเชื้อไวรัส ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง แต่เกิดการอักเสบของต่อมน้ําลายตามมา รวมถึงภาวะอื่นๆ สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเสมหะและน้ําลาย การเกิดเนื้องอกขอต่อมน้ําลาย ที่จะแสดงตัวด้วยอาการต่อมน้ําลายอักเสบ เนื่องจากการอุดตันของทางเดินน้ําลาย ทำให้ตรวจพบก้อนที่อยู่ภายใน หรือการคลำพบโดยบังเอิญ การอักเสบของต่อมน้ําลาย จะพบได้มากที่บริเวณต่อมน้ําลายข้างหู ที่เรียกกันว่า “โรคคางทูม” พบได้ทั้งในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ส่วนในผู้ใหญ่จะพบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 […]

admin24

November 17, 2016