วัณโรคต่อมน้ําเหลือง หรือวัณโรคที่อยู่ใน “ต่อมน้ําเหลือง” เป็นชนิดของวัณโรคที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นหู และมักจะเคยได้ยินแต่วัณโรคปอดกันเป็นหลัก
แต่นี่คือหนึ่งในโรคที่พบได้มากและเป็นอันตราย ซึ่งเป็นลักษณะของวัณโรคที่อยู่นอกปอด สามารถพบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในทุกช่วงอายุ
กรณีที่แพทย์พบว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ก็จะมีการตรวจเช็คปอดด้วยว่า มีการติดเชื้อร่วมกันหรือไม่ ทั้งนี้อาการของโรคชนิดนี้จะแตกต่างจากวัณโรคปอดมากน้อยแค่ไหน
และเราจะรับมือกันอย่างไรเมื่อติดเชื้อขึ้นมา ลองมาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น จะได้รีบทำการรักษาได้ทันก่อนจะลุกลามมากขึ้นค่ะ
โรค วัณโรคต่อมน้ําเหลือง คืออะไร ?
โรควัณโรคต่อมน้ำเหลือง หรือ วัณโรคต่อมน้ำเหลืองที่คอ ถือว่าเป็นวัณโรคชนิดหนึ่งที่อยู่ภายนอกปอด พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะในชุมชนแออัด
สามารถเป็นๆ หายๆ ชนิดเรื้อรังได้ แม้จะทำการรักษามาเป็นอย่างดีแล้ว หากผู้ป่วยดูแลตัวเองไม่ดี อาจอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม การรักษาตัวเองให้เหมาะสม กินยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นและกลับมาหายเป็นปกติได้
ส่วนใหญ่การเกิดวัณโรคจะมาจากการติดเชื้อหลายชนิด ผู้คนที่อยู่อาศัยในสภาพอากาศที่ไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ๆ มีการทำความสะอาดได้ไม่ถูกสุขลักษณะ
อากาศเต็มไปด้วยมลพิษ โดยมีเชื้อที่เรียกว่า “tuberculosis“ เป็นตัวการทำให้เกิด เป็นเชื้อโรคที่ทนต่อสภาพแวดล้อมเกือบทุกชนิดได้เป็นอย่างดี
ไม่ว่าจะหนาว ร้อน หรืออากาศชื้น ก็สามารถแพร่กระจาย และเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วทีเดียว
ลักษณะของวัณโรคต่อมน้ำเหลืองคือ จะปรากฏอาการที่คอ ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองขนาดใหญ่ ก่อนจะแพร่ขยายเชื้อลุกลามต่อไปยังขากรรไกร ไหปลาร้า
และรักแร้ ทำให้เกิดอาการบวมโตของต่อมน้ำเหลืองมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก ช่วงแรกผู้ป่วยอาจคิดว่าเป็นอาการของฝี
แต่ในช่วงระยะแรกที่เริ่มบวมจะไม่ค่อยมีอาการเจ็บ ทำให้ผู้ป่วยปล่อยปะละเลย จากนั้นก้อนดังกล่าวก็จะขยายใหญ่มากขึ้น
สามารถแตกเป็นหนอง กลายเป็นแผลเรื้อรังที่ทำการรักษาได้ยุ่งยากมากขึ้น การลุกลามของโรคหลังจากที่มีการแตกออกมา จะทำให้ติดเชื้อรุนแรง อักเสบ
และส่งผลไปยังหลอดลมและปอด การทำงานของปอดผิดปกติ มีขนาดเล็กลง ซึ่งด้วยการเริ่มต้นเหมือนกับเม็ดฝี จึงมักถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า “ฝีประคำร้อย” (ก้อนบวมที่ซอกคอ)
โดยจะพบเพียงข้างใดข้างหนึ่งของต่อมน้ำเหลืองเท่านั้น ด้วยการเกาะตัวเป็นกลุ่ม มีความอ่อนนุ่มคล้ายฝี เป็นเหตุให้ส่วนมากกว่าผู้ป่วยจะตัดสินใจมาพบแพทย์ก็ลุกลามเข้าสู่ปอดไปแล้ว
อาการ วัณโรคต่อมน้ําเหลือง เป็นอย่างไร?
อาการของวัณโรคต่อมน้ำเหลืองในช่วงระยะแรกเริ่ม มักจะไม่ค่อยมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องสังเกตตัวเองให้ดีดังนี้คือ
1.วัณโรคต่อมน้ำเหลืองจะพบได้มากในตำแหน่งของขั้วปอด ซึ่งจะไม่ค่อยแสดงอาการใดๆ ออกมาให้เห็นนักหากไม่รุนแรงถึงขั้นที่ต่อมน้ำเหลืองขยายตัวมากจนไปกดการทำงานของหลอดลม
2.หากพบฝีที่บริเวณไหปลาร้าหรือคอ ขากรรไกรมีอาการบวมโต จนกระทั่งแตกเป็นหนองไม่ยุบ แต่กลับกระจายตัวมากขึ้นไปยังรักแร้และต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง
3.มีอาการเจ็บคอ ฟันผุ พบแผลตามใบหน้า ในหู ศีรษะ ปวดฟัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน เนื่องจากการลุกลามของเชื้อจนทำให้เกิดการอักเสบ
เชื้อวัณโรคชนิดนี้ จะมีระยะการฟักตัวที่ไม่แน่นอน แต่โดยทั่วไปตั้งแต่ได้รับเชื้อวันแรกจะยังไม่ปรากฏอาการใดๆ ให้เห็น
แต่จะใช้เวลาในการเจริญเติบโตราว 4 สัปดาห์ขึ้นไป จนเชื้อเริ่มมีปริมาณมากขึ้น จะเริ่มเกิดอาการของโรคภายใน 6-12 เดือน
แต่หากเป็นคนที่มีความไวต่อโรคหรือระบบภูมิต้านทาน เช่น เด็ก, คนชรา, คนป่วยที่มีโรคประจำตัว, คนที่ได้รับเชื้อในปริมาณมาก และคนที่ร่างกายไม่แข็งแรงเป็นต้น อาการจะปรากฏขึ้นเร็วเป็นเท่าตัว
วัณโรคต่อมน้ําเหลือง ติดต่อไหม ?
ผู้คนจำนวนหนึ่งเกิดความเข้าใจผิด คิดว่าวัณโรคต่อมน้ำเหลืองเป็นคนละจุดกับวัณโรคปอด เนื่องจากเป็นส่วนที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังของเรา
จึงคิดว่าไม่ทำให้ติดต่อได้ จริงๆ แล้วการติดต่อสามารถเกิดได้เช่นเดียวกันกับ วัณโรคปอด ผ่านทางสามช่องทางหลัก คือ
1.การติดต่อผ่านทางปาก จะเป็นการติดต่อที่เกิดจากการใช้แก้วร่วมกัน การดื่มน้ำร่วมกัน ทำให้เชื้อวัณโรคปะปนเข้าไปด้วย
2.การติดต่อผ่านทางจมูก ซึ่งส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อของวัณโรคปอดเสียส่วนใหญ่ แต่หากพบเชื้อวัณโรคต่อมน้ำเหลืองก็สามารถทำให้เกิดการติดต่อผ่านทางนี้ได้เช่นเดียวกัน คือผ่านทางน้ำลาย เสมหะ น้ำมูก การไอและจามรดกัน
3.การติดต่อผ่านทางผิวหนัง จะพบเชื้อเข้าสู่บาดแผลหรือส่วนที่เป็นรอยถลอก การติดต่อทางตรงคือการสัมผัสกับตัวผู้ป่วย ส่วนการติดต่อทางอ้อมคือการใช้ภาชนะร่วมกัน มีการฆ่าเชื้อไม่สะอาด หรือการใช้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการใช้เครื่องใช้อื่นร่วมกันด้วย
4.มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ มีเหงื่อออกมากในช่วงกลางคืน
5.อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
6.ไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ หากต่อมน้ำเหลืองโตกดหลอดลม จะทำให้รู้สึกหายใจลำบาก
7.ต่อมทอนซิลโต
8.คันตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ
การรักษาวัณโรคต่อมน้ําเหลือง
การรักษาวัณโรคต่อมน้ำเหลืองแพทย์จะใช้วิธีให้ยาฆ่าเชื้อเป็นหลัก โดยผู้ป่วยจะต้องมีวินัยในการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือน
เบื้องต้นแพทย์จะเจาะเอาน้ำเหลืองที่คอไปตรวจก่อนเพื่อหาระยะความรุนแรงของเชื้อว่ามีมากน้อยแค่ไหน
มีการนำเอาอุจจาระ ปัสสาวะ และเลือดไปทำการตรวจอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่มีการนัด อีกทั้งยังมีการนับจำนวนครั้งในการปัสสาวะและอุจจาระในแต่ละวันด้วย
ซึ่งผู้ป่วยจะต้องบันทึกข้อมูลดังกล่าวลงไปทุกครั้ง ในระหว่างการรักษาจะต้องแยกตัวออกจากคนอื่นที่ไม่มีเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
อาศัยอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการเปิดแอร์ที่เสี่ยงจะทำให้เชื้อกระจายไปติดต่อกับผู้อื่นได้
ยาที่ใช้ในการรักษามักจะใช้ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป คือยาหลัก 1 ชนิด และยาอื่นๆ เป็นตัวช่วยด้วยอีก 3-4 อย่างเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดในการรักษา จะมีการรักษาตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป บางรายอาจใช้เวลามากกว่า 8 เดือนหรือเป็นปีๆ เมื่อหายแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
แม้จะรู้สึกว่าร่างกายหายดีแล้วก็ยังคงต้องกินยาต่อเนื่อง โดยห้ามหยุดยาเอง ผู้ป่วยที่ปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด
จะช่วยให้สามารถรักษาวัณโรคต่อมน้ําเหลืองให้สามารถหายขาดได้ และไม่เกิดภาวะเชื้อดื้อยา จนทำให้ต้องเข้ามารับการรักษาใหม่ที่ต้องใช้ยาแรงมากขึ้นอีกด้วย