โรคน้ำวุ้นตาเสื่อม เกิดจากอะไร มีวิธีรักษาให้หายได้หรือไม่?

วุ้นตาเสื่อม น้ำวุ้นตาเสื่อม หรือ โรควุ้นในตาเสื่อม ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตาเหล่านี้ ย่อมทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกรำคาญกับการมองเห็น เพราะมักจะทำให้มองเห็นจุดดำๆ ลอยไปลอยมาบ่อยๆ แม้ไม่ได้เป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดทรมาน หากแต่เมื่อเป็นแล้ว ก็อาจจะทำให้การที่ต้องใช้สายตาจดจ่อหรือเพ่งสมาธิทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ค่อยเป็นผลสำเร็จนัก วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่า โรควุ้นในตาเสื่อม หรือ โรคน้ำวุ้นตาเสื่อมคืออะไร สาเกตุ อาการและวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง? ไปติดตามกันค่ะ น้ำวุ้นตา คืออะไร? ในดวงตาจะมีส่วนประกอบอยู่หลายอย่างที่ส่งผลต่อการมองเห็น หนึ่งในนั้นก็คือ วุ้นตา หรือ น้ำวุ้นตา (Vitreous body หรือ Vitreous humor) ซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของดวงตา น้ำวุ้นตาจะมีลักษณะเป็นเจลใส มีหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงผ่าน โดยคอยให้สารอาหารกับจอประสาทตาและเซลล์ผนังที่อยู่ภายใน อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยพยุงลูกตาให้อยู่ในลักษณะวงกลมด้วย เมื่อน้ำวุ้นตามีความเสื่อมสภาพเกิดขึ้น ก็จะทำให้การมองเห็นมีความผิดปกติ คือเวลาที่เรามองหรือขยับตามองไปยังสิ่งต่างๆ จะทำให้เห็นว่ามีจุดวงกลมหรือเส้นเกลียว ลักษณะคล้ายใยแมงมุมเกิดขึ้นบริเวณสิ่งที่เรากำลังมอง โรควุ้นตาเสื่อม คืออะไร? โรคน้ำวุ้นตาเสื่อม หรือ โรควุ้นในตาเสื่อม (Eye floater) คือ ภาวะหนึ่งของการมองเห็นภาพโดยมีจุดเล็กๆ ลอยไปลอยมา ซึ่งจะมีลักษณะรูปร่างหรือขนาดที่แตกต่างกันออกไป เช่น เป็นลักษณะจุดดำๆ เล็กๆ […]

kaewsai

March 11, 2018

วุ้นในตาเสื่อม เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร?

วุ้นในตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดขึ้นในดวงตาโดยที่ไม่มีใครจะเป็นด้วยกันทั้งนั้น เพราะดวงตานับเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ช่วยในการมองเห็นซึ่งทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างราบรื่น แต่หากวันหนึ่งเกิดปัญหาวุ้นในตาเสื่อม ย่อมทำให้การใช้ชีวิตมาพร้อมความไม่สะดวกอย่างแน่นอน ว่าแล้วเราก็ไปทำความรู้จักกันดีกว่าว่า วุ้นในตาเสื่อมเกิดจากอะไร และควรรับมือป้องกันรักษาอย่างไรบ้าง วุ้นตา คืออะไร? ดวงตาของคนเราจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่า วุ้นตา (vitereous) อยู่ภายในช่องตาส่วนหลังเพื่อคงรูปร่างของลูกตา คืออยู่ระหว่างจอประสาทตากับเลนส์ตา มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายกับไข่ขาว หรือคล้ายกับเยลลี่ใส ๆ ยึดติดอยู่กับผิวของจอตาที่บุอยู่ภายในลูกตาโดยรอบ ซึ่ง 99% ของวุ้นตาเป็นน้ำ ส่วนที่เหลือประกอบด้วยโปรตีนกับเส้นใย เช่น กรดไฮยาลูโรนิก คอลลาเจนและสารเกลือแร่ต่าง ๆ แต่เมื่อคนเราก้าวเข้าสู่ช่วงวัยกลางคน วุ้นตาจะเสื่อมตัว มีลักษณะเหลวเป็นน้ำ เส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กในตาจะหดตัว จับกันเป็นก้อนตะกอนขุ่น และวุ้นตาจะลอกออกจากผิวจอตา ทำให้มองเห็นเป็นเงาดำ หรืออาจเห็นเป็นจุดเล็ก ๆ เส้น ๆ หรืออาจเห็นเป็นวง ๆ ลอยไปมาในตา โดยจะเห็นชัดในเวลามองท้องฟ้าหรือพื้นผนังสีขาวสว่าง ๆ กลอกตาไปมาก็จะลอยตามไปด้วย บางครั้งก็คล้ายใยแมงมุม บางครั้งก็คล้ายยุงลอยไปมา ซึ่งเป็นภาวะ PVD (posterior vitreous detachment) เกิดจากการหลุดลอกของวุ้นตาที่เกาะอยู่เป็นวงรอบขั้วประสาทตา […]

kaewsai

September 4, 2017

วุ้นในตาเสื่อม ปัญหาวุ้นลูกตาเสื่อมก่อนวัย ภัยเงียบของชาว Office Syndrome

ในยุคที่คนทำงานออฟฟิศ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หรือจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะทำงาน ติดต่อสื่อสาร ไปจนถึง การอัพเดตข้อมูล การทำงานหนักอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้พัก จะทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยที่เรียกกันว่า “Office Syndrome” เป็นการเรียกรวมๆ จากอาการเจ็บป่วยที่มาจากการนั่งทำงานนานๆ ตลอดทั้งวัน การใช้สายตาที่จะต้องจ้องอยู่หน้าจอ ยิ่งเป็นสิ่งที่พบที่ทำให้สุขภาพแย่ลงอย่างชัดเจน แพทย์จึงมักตรวจพบโรค “วุ้นในตาเสื่อม” เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในวัยหนุ่มสาว และพบในคนที่มีอายุน้อยลงมาเรื่อยๆ ซึ่งโรคนี้มีความสัมพันธ์กับการทำงานอยู่กับหน้าจอ หรืออ่านหนังสือมากจนสายตาไม่ได้พัก สมัยก่อนจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากแล้ว แต่ด้วยพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบผิดๆ ทำให้โรคนี้กลายเป็นภัยเงียบที่สาวๆ ชาวออฟฟิศจะต้องระมัดระวัง และหมั่นเช็คสุขภาพสายตาของตัวเอง ว่านอกจากสายตาสั้นจนต้องใส่แว่นแล้ว ยังพบความผิดปกติอื่นใดอีกหรือไม่ เพราะอากรเหล่านั้น หากเกิดขึ้นจะเป็นตัวแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมสภาพของดวงตา ซึ่งควรได้รับการแก้ไข หันกลับมาดูแลตัวเองให้มากขึ้นนั่นเองค่ะ อะไรคือวุ้นในตาเสื่อม ? วุ้นในตาเสื่อม หรือวุ้นตาเสื่อม หรือวุ้นตาตกตะกอน (Vitreous floater หรือ Eye floater) เป็นลักษณะความผิดปกติที่ที่จะทำให้การมองเห็นไม่เหมือนเดิม ซึ่งมีทั้งแบบที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงการมองเห็นที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการทั่วไปจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด นอกจากมองเห็นเหมือนไฟตก เห็นเป็นใยแมงมุมลอยไปมา […]

admin24

February 18, 2017