วุ้นในตาเสื่อม ปัญหาวุ้นลูกตาเสื่อมก่อนวัย ภัยเงียบของชาว Office Syndrome

วุ้นในตาเสื่อม

ในยุคที่คนทำงานออฟฟิศ คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต หรือจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นต้องใช้

ไม่ว่าจะทำงาน ติดต่อสื่อสาร ไปจนถึง การอัพเดตข้อมูล การทำงานหนักอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้พัก จะทำให้เกิดภาวะเจ็บป่วยที่เรียกกันว่า “Office Syndrome” เป็นการเรียกรวมๆ จากอาการเจ็บป่วยที่มาจากการนั่งทำงานนานๆ ตลอดทั้งวัน

การใช้สายตาที่จะต้องจ้องอยู่หน้าจอ ยิ่งเป็นสิ่งที่พบที่ทำให้สุขภาพแย่ลงอย่างชัดเจน แพทย์จึงมักตรวจพบโรค “วุ้นในตาเสื่อม” เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในวัยหนุ่มสาว และพบในคนที่มีอายุน้อยลงมาเรื่อยๆ

ซึ่งโรคนี้มีความสัมพันธ์กับการทำงานอยู่กับหน้าจอ หรืออ่านหนังสือมากจนสายตาไม่ได้พัก สมัยก่อนจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุมากแล้ว แต่ด้วยพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบผิดๆ

ทำให้โรคนี้กลายเป็นภัยเงียบที่สาวๆ ชาวออฟฟิศจะต้องระมัดระวัง และหมั่นเช็คสุขภาพสายตาของตัวเอง ว่านอกจากสายตาสั้นจนต้องใส่แว่นแล้ว ยังพบความผิดปกติอื่นใดอีกหรือไม่

เพราะอากรเหล่านั้น หากเกิดขึ้นจะเป็นตัวแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมสภาพของดวงตา ซึ่งควรได้รับการแก้ไข หันกลับมาดูแลตัวเองให้มากขึ้นนั่นเองค่ะ

อะไรคือวุ้นในตาเสื่อม ?

วุ้นในตาเสื่อม หรือวุ้นตาเสื่อม หรือวุ้นตาตกตะกอน (Vitreous floater หรือ Eye floater) เป็นลักษณะความผิดปกติที่ที่จะทำให้การมองเห็นไม่เหมือนเดิม

ซึ่งมีทั้งแบบที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงการมองเห็นที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการทั่วไปจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด

นอกจากมองเห็นเหมือนไฟตก เห็นเป็นใยแมงมุมลอยไปมา มองเห็นภาพเป็นจุดๆ ไปจนถึงเห็นแสงว๊าบเหมือนฟ้าผ่าขึ้นมากะทันหัน

มีแสงแว๊บๆ ที่บริเวณหางตา อาการเหล่านี้ในความเป็นจริง จะพบได้ในกลุ่มคนที่มีอายุมากแล้ว

การเสื่อมของวุ้นลูกตาเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเรามักจะทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

รวมถึงการเล่นสมาร์ทโฟนที่นิยมเล่นก่อนนอน ปิดไฟทั้งห้องจนมืด สว่างแค่ส่วนของหน้าจอ

เป็นสิ่งที่ไปกระตุ้นให้ดวงตาทำงานหนัก จนเกิดความเสื่อมสภาพขึ้นมา โดยพบว่ากว่า 14 ล้านคน ต้องเผชิญกับอาการเหล่านี้

เมื่อเป็นแล้วมักจะทำการรักษาได้ยากหากเป็นเพียงแค่อาการช่วงแรกๆ แพทย์มักจะบอกว่าไม่จำเป็นต้องรักษา

จนกว่าจะมองเห็นเป็นแสงว๊าบเหมือนฟ้าผ่า เราพบโรคนี้ได้มากขึ้นในกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน

จากเมื่อก่อนที่พบแค่ในกลุ่มที่เป็นผู้สูงอายุ ช่างเจียรเหล็กที่ต้องอยู่กับแสงไฟจ้ามากๆ

แต่ในปัจจุบันโรคนี้ เหมือนกลายเป็นโรคยอดฮิตที่คนเมืองเป็นกันได้จนแทบจะเป็นเรื่องปกติ

สาเหตุตาเสื่อมจากจอคอมพิวเตอร์และพฤติกรรมการเล่นมือถือ

สาเหตุที่คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนคือตัวปัญหา หากเป็นการอ่าน หรือเล่นอะไรที่อยู่บนจอเหล่านี้

จะทำให้สายตาถูกทำลายได้ง่าย ยิ่งใช้เป็นระยะเวลานานติดต่อกันแบบไม่พัก ยิ่งทำให้ดวงตาเสียหายอย่างรวดเร็วก่อนอายุ

ลองเปรียบเทียบการอ่านบนแผ่นกระดาษ สายตากับแผ่นกระดาษที่่อ่านจะคงที่ยู่เสมอ

เป็นระยะห่างที่ดวงตาไม่ต้องปรับโฟกัสไปเรื่อยๆ อีกทั้งส่วนของขอบตัวหนังสือมีความคมชัด

สมองจึงกะระยะได้อย่างแม่นยำ สัมพันธ์กับกล้ามเนื้อตาและเส้นประสาทตา ให้สามารถทำงานได้อย่างคงที่

แตกต่างจากตัวหนังสือบนจอคอมพิวเตอร์ ที่พบลักษณะเป็นจุดพิกเซลล์ ประกอบต่อกันขึ้นมา

แม้จะมองเห็น แต่ขอบตัวหนังสือจะไม่ชัด เหมือนแขวนออกมาจากหน้าจออีกที แม้เราจะไม่รู้สึก

แต่สมองมีความรู้สึก เกิดการสับสนเรื่องระยะโฟกัส ดวงตาต้องมองผ่านจอแก้วที่มีความหนาเพื่อจ้องเข้าไปอ่านตัวหนังสือ

ทำให้การปรับระยะโฟกัสเกิดขึ้นแบบไม่แน่นอน ในขณะอ่านการใช้เมาส์เลื่อนขึ้นลง ทำให้บรรทัดที่อ่านถูกขยับไปมาไม่อยู่นิ่งกับที่เหมือนกับบรรทัดของหนังสือที่คงที่

ดวงตาจะมีการเลื่อนแบบกระตุกๆ จนทำให้เกิดอาการเมื่อยดวงตา เกิดอาการปวด ลุกลามไปจนถึงอาการปวดศีรษะได้เลยทีเดียว

อาการวุ้นในตาเสื่อม เป็นอย่างไรบ้าง ?

การเสื่อมของวุ้นในตา จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกันคือ

1.วุ้นในตาเสื่อมเป็นตะกอน (vitreous syneresis) เป็นอาการเริ่มต้นของโรควุ้นในตาเสื่อม

ซึ่งอาการดังกล่าวนี้เป็นการลักษณะของวุ้นที่ขุ่นกลายเป็นตะกอน ตามปกติวุ้นในตาของเราจะมีลักษณะเป็นโครงข่ายเส้นใยคอลลาเจน มีน้ำอยู่ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์

การจัดเรียงตัวของเส้นคอลลาเจนเป็นระเบียบ มีความละเอียดมาก ดังนั้นเราจึงแถบมองไม่เห็นโครงข่ายเส้นใยคอลลาเจนเหล่านี้ได้จากภายในตาของเรา

แต่เมื่อเกิดปัญหาวุ้นในตาเสื่อม เส้นใยบางส่วนจะถูกทำลาย บางเส้นขาดเป็นท่อนหรือมีความหนามากขึ้น

เมื่อจับตัวหนาเป็นก้อน ความใสจะถูกบดบัง กลายเป็นตะกอนขุ่น

ซึ่งจะมองเห็นเป็นแสงสีเหมือนหมอก ใยแมงมุม หรือเป็นจุดเดี่ยวๆ หรือหลายจุดกระจายตัวกันอยู่

(อ่านเพิ่มเติม  : ภาวะพังผืดที่จอตา อาการตามัว มองภาพบิดเบี้ยว ที่สาวๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจ )

2.วุ้นในตาหลุดออดจากประสาทตา (posterior vitreous detachment)

เป็นระดับที่รุนแรงมาจากอาการแรก ส่วนของวุ้นในตา จะเกาะกับจอประสาทตา แต่ละส่วนมีความแข็งแรงและแน่นมาก จะอยู่ที่ด้านหลังของจอประสาทตา

ใกล้บริเวณด้านหลังของเลนส์ บริเวณนี้จะถูกเรียกว่า “ฐานของวุ้นในตา” (vitreous base)

หากวุ้นเหล่านี้เกิดการหดตัว ก็จะเกิดการหดแยกออกจากจอประสาทตาด้านหลัง กับส่วนของจุดรับภาพ ค่อยๆ หดเลื่อนมาที่ฐานด้านหน้า

ตะกอนที่พบจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กรณีที่วุ้นตาแยกส่วนออกมา

ผู้ป่วยจะเห็นวุ้นเป็นเงาเบี้ยว โค้ง หรือวงลม อยู่รอบๆ หางตา ยิ่งกลอกตาไปมา ยิ่งมองเห็นได้ชัด

เพราะตัววุ้นจะลอยไปมา กระทบกับจอประสาทตา เกิดเป็นภาพแสงว๊าบขึ้นมาเหมือนแสงแฟลช

วิธีเตรียมตัวรักษา วุ้นในตาเสื่อม

1.กรณีที่เกิดอาการวุ้นในลูกตาเสื่อม เพียงแค่ตกตะกอน ยังไม่เข้าขั้นอันตราย

มักจะไม่ค่อยส่งผลกระทบอะไรนอกเหนือจากความรู้สึกรำคาญ เหมือนมีอะไรลอยไปมาอยู่ตลอดเวลา

แต่ก็จะชินไปเองในที่สุด บางคนอาการเป็นๆ หายๆ หากตะกอนลอยตัวหลบไปจากแนวสายตา

2.กรณีที่เกิดจอตาฉีกขาดขึ้นมา จักษุแพทย์จำเป็นต้องทำการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ หรือการจี้เย็น

เพื่อปิดรอยรั่วดังกล่าว ป้องกันไม่ให้วุ้นซึมเข้าไปตามรอยรั่ว ที่จะส่งผลทำให้ส่วนของจอตาหลุดออกมาได้

3.หากมีอาการวุ้นในตาเสื่อมรุนแรง ซึ่งจะเป็นตะกอนที่มาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงฉีกขาด

ภาวะหลอดเลือดผิดปกติ หรือในกลุ่มผู้ป่วยจอตาเสื่อม ไปจนถึงภาวะเม็ดเลือดขาวอักเสบในดวงตาจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ที่เรียกกันว่า “มะเร็งจอตา”

ในข้อนี้จัดอยู่ในสาเหตุที่เรียกว่า Pathologic vitreous floater ซึ่งมีความรุนแรงมาก

จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจัยอย่างละเอียด เพื่อทำการรักษาได้ตรงตามสาเหตุที่เกิดขึ้น

วุ้นในตาเสื่อม

Photo Credit : colereview.com

การป้องกันภาวะวุ้นในตาเสื่อม เป็นทางเลือกแก้ปัญหาที่ดีที่สุด เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก

คนที่ทำงานออฟฟิศ หรือทำงานในที่มีแสงจัด ดวงตากระทบกับฝุ่นละอองบ่อยๆ จะต้องหมั่นทำความสะอาด

และพักสายตาทุกๆ 20 นาที เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวให้น้อยลงนั่นเองค่ะ