ถุงน้ําในรังไข่ โรคเกี่ยวกับรังไข่กับหลากปัญหาที่ทำให้ผู้หญิงต้องกังวล

โรคภาวะถุงน้ําในรังไข่

ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ที่พบได้มากในผู้หญิงคงหนีไม้พ้นภาวะถุงน้ําในรังไข่ หรือที่คุ้นกันว่าโรค PCOS (Polycystic Ovary Syndrome)

เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ระบบการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์และระบบฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ซึ่งระดับอาการก็จะมากน้อยแตกต่างกันออกไปด้วย พบได้ทั่วไปในผู้หญิงที่ยังมีประจำเดือน

ที่สังเกตได้ชัดคือประจำเดือนที่มาคลาดเคลื่อน มาแบบกระปิดกระปรอย หรือนานๆ ครั้งมาที

บางรายรุนแรงถึงขั้นที่ไม่มีประจำเดือนมาเลยตลอดระยะเวลาหลายปี เพราะไข่ที่โตสมบูรณ์แล้ว

พร้อมทำหน้าที่ผสมพันธุ์ กลับไม่ตกมาเป็นประจำเดือน เมื่อตรวจจะพบไข่หลายใบเกาะค้างอยู่ภายในรังไข่

และมีปริมาณมากขึ้น หากสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะทำให้เกิดการบวมน้ำในมดลูก จนสังเกตว่าท้องบวมกว่าปกติ

แม้จะไม่ใช่คนอ้วน อีกทั้งยังพบอาการข้างเคียงอื่นๆ ของโรคที่จะส่งผลกระทบกับผู้หญิงที่ต้องการมีบุตรในอนาคต และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอีกด้วย

ถุงน้ําในรังไข่คืออะไร ?

โรคถุงน้ําในรังไข่ จะเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงในช่วงวัยเจริญพันธุ์

สามารถเกิดขึ้นตั้งแต่ในวัยที่เริ่มมีประจำเดือนจนถึงอายุ 45 ปี และดูเหมือนจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน

ลักษณะของถุงน้ำจะมีขนาดเล็กกระจายตัวกันอยู่ภายในรังไข่จำนวนมาก บางครั้งก็เรียกกันว่าซีสต์ในรังไข่

ตามปกติรังไข่จะทำหน้าที่สำคัญคือการผลิตฮอร์โมนหลากหลายชนิด เมื่อรังไข่ผิดปกติขึ้นมา

จะทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สมดุล

มีปริมาณของฮอร์โมนอินซูลินในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้หญิงที่เป็นโรคถุงน้ําในรังไข่จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้สูงกว่าคนทั่วไปหลายเท่า

และเป็นชนิดเบาหวานที่มีความรุนแรง เนื่องจากร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลิน หรือตอบสนองได้น้อยกว่าปกติ (Insulin resistance)

ถุงน้ำที่เกิดขึ้นจะมีขนาดไม่ใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-3 เซนติเมตร แต่อาจใหญ่ได้ถึง 5 เซนติเมตร

สามารถหายไปได้เองเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 เดือน จึงทำให้มันเป็นถุงน้ำที่ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย เพราะจะเกิดการฝ่อไปเองในที่สุด

ความผิดปกติของถุงน้ำในรังไข่ที่เกิดขึ้น มาจากการทำงานของต่อมไร้ท่อที่ไม่สมดุล

เมื่อทำการตรวจจะพบปริมาณของฮอร์โมนแอนโดรเจนในปริมาณสูง ร่วมกับภาวะไข่ไม่ตกแบบเรื้อรัง

เมื่อฮอร์โมนชนิดนี้สูงขึ้น จะไปกระทบกับภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนขาดหายไป

มาแบบกระปิดกระปรอย มีสิวมาก ผิวหน้ามัน มีขนตามร่างกาย มีหนวดเครา

หรือเสียงห้าวเหมือนผู้ชาย แต่ส่วนมากอาการเหล่านี้จะพบได้น้อย จะมีเพียงอาการประจำเดือนขาดที่เป็นอาการหลัก

หากขนาดของถุงน้ำไม่ขยายตัวมากขึ้น ก็แทบจะไม่แสดงอาการอื่นใดออกมาให้เห็น

ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การรักษาทำได้ช้า อาการของโรคลุกลามไปมากแล้วจนเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพตามมาในที่สุด

ถุงน้ําในรังไข่กับอาการที่่ควรสังเกต

อาการเตือนที่มักจะเป็นสาเหตุทำให้สาวๆ เข้ารับการตรวจจากสูตินารีแพทย์คืออาการประจำเดือนมากระปิดกระปรอย

มาไม่ตรงกับรอบเดือน ซึ่งมาจากการที่รังไข่มีปริมาณของถุงน้ำหลายใบ

ส่งผลให้การทำงานของระบบสืบพันธุ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม พบว่าบางรายหลายๆ เดือนจึงจะมีประจำเดือนสักครั้ง

และแต่ละครั้งก็จะมีเลือดออกมาในปริมาณมากและนาน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก

รอบเดือนจะหายไปเป็นปี หรือมาแบบกะปิดกะปรอยติดต่อกันนานกว่า 10-15 วันเลยทีเดียว

นอกจากนี้กลุ่มที่มีถุุงน้ำหลายใบ ยังพบว่ามีน้ำหนักตัวมาก มีภาวะอ้วนที่พบได้มากกับโรคนี้

ยิ่งสาวๆ ที่ไม่ควบคุมความอ้วนของตัวเอง ก็จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน

เสี่ยงที่จะทำให้โรคนี้รุนแรงมากขึ้นไปอีกระดับ บางรายพบว่ามีปริมาณฮอร์โมนเพศชายสูง

มีขนดกตามแขน ขา และลำตัว มีหนวดและอาจพบศีรษะล้านได้อีกด้วย

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีภาวะมีบุตรยาก เพราะประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้ไม่สามารถนับระยะที่ไข่ตกได้แน่ชัด

สาเหตุของการเกิดถุงน้ําในรังไข่

ในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคถุงน้ําในรังไข่

แต่เชื่อว่ามาจากความผิดปกติในระดับพันธุกรรม ใกล้เคียงกับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ยิ่งคนที่มีแม่ป่วยเป็นโรคนี้มาก่อน

ลูกสาวก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้สูงมากด้วย เรายังพบอีกว่า ผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว

จะมีปัญหาที่รังไข่และต่อหมวกไต มีการสร้างฮอร์โมนเพศชายเพิ่มมากขึ้น

มีระดับเอนไซม์อินซูลินในกระแสเลือดมาก ความผิดปกติของโรคยังพบได้ในจุดอื่นๆ ของร่างกายด้วยคือ

ผิวหนัง ไขมันรอบนอก และบริเวณต่อมใต้สมอง โดยจะส่งผลกระทบกันเป็นวงจร

โดยไม่สามารถสรุปได้ว่าจุดไหนเป็นจุดเริ่มต้นของความผิดปกติดังกล่าว ดังนั้นสาเหตุที่สามารถตรวจพบได้คือ

มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง ทำให้ไข่ไม่ตก เสี่ยงที่จะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว

และกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในอนาคต มีระดับแอนโดรเจนสูง ทำให้เกิดสภาวะของเพศชายในร่างกาย

และภาวะดื้ออินซูลิน ที่เสี่ยงทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคอ้วนได้ง่าย

ขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ําในรังไข่

ผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ จะได้รับการรักษาที่แตกต่างกัน

โดยจะแบ่งตามกลุ่มอาการและความต้องการมีบุตร เบื้องต้นแพทย์จะต้องลดภาวะประจำเดือนที่มาผิดปกติ

เพื่อช่วยไม่ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว กรณีที่ไม่ต้องการมีบุตรจะให้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม

ซึ่งจะเป็นตัวยาสำคัญที่ใช้รักษาผู้ป่วยในระยะยาว มีกลไกการออกฤทธิ์ที่จะช่วยลดอาการเลือดออกผิดปกติ

และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาตาบางลงจนเข้าสู่ระดับปกติ

การใช้ยาฮอร์โมนโปรเจสตินเป็นรอบๆ ทุก 1-3 เดือน เพื่อช่วยให้ระดูมาปกติ

นิยมให้รับประทานยาทุกเดือน ซึ่งจะให้ผลดีมากกว่าแบบ 3 เดือน

แต่จะไม่สามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะขนดก เป็นสิว หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้

ส่วนรายอื่นๆ จะมีการให้ยาลดการต้านอินซูลิน ซึ่งเป็นยารักษาโรคเบาหวานในกลุ่ม insulin-sensitizers

ที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นด้วย และการรักษาด้วยการผ่าตัดจี้รังไข่

ซึ่งยังเป็นการรักษาที่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถหยุดอาการของโรค และป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวได้หรือไม่

กรณีที่ผู้ป่วยต้องการมีบุตร การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การกระตุ้นทำให้ไข่ตก

และการตรวจสุขภาพของผู้ป่วยว่ามีความแข็งแรงพอต่อการมีบุตรด้วยหรือไม่

ภาวะถุงน้ําในรังไข่หลายใบ
Photo Credit : syndromepictures.com

ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาออกกำลังกาย

และเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ มีการจำกัดอาหารให้เกิดความเหมาะสม

และใช้ยาเพื่อชักนำให้เกิดไข่ตก เช่น ยาในกลุ่ม Estrogen antagonist,  Recombinant-FSH ร่วมกับ hCG  และ Aromatase inhibitor เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการรักษาโรคถุงน้ําในรังไข่ จะต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วยว่ามีอาการรุนแรงไปในระดับไหนแล้ว

การรักษาจะต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ติดตามการรักษา และดูแลสุขภาพตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดด้วย