ประจําเดือนไม่มา 2 เดือนขึ้นไป ตรวจแล้วไม่ท้อง มีสาเหตุมาจากอะไร ?

ประจําเดือนไม่มา2เดือน

ประจําเดือนไม่มา เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การที่ประจําเดือนไม่มาในแต่ละเดือน หรือปรากฏว่า ไม่มามากกว่า 2 เดือน อยู่ในวัยเจริญพันธุ์

ไม่มีอาการผิดปกติอะไรเป็นสัญญาณภายนอกแสดงให้เห็นเลย แม้จะเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าท้องเสมอไป

สาวๆ ที่เผชิญปัญหานี้ ไม่พร้อมจะมีบุตรก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะอาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากปัจจัยแวดล้อม และที่พบได้มากที่สุดคือความผิดปกติของระบบฮอร์โมนในร่างกาย

ดังนั้นก่อนที่จะกังวลว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ลองมาหาสาเหตุที่่แน่ชัด เป็นตัวการทำให้ประจําเดือนไม่มา จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง

ก่อนที่จะเกิดเป็นอาการลุกลามจากโรคต่างๆ ที่มาจากระบบสืบพันธุ์ที่ซับซ้อน เช่น มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งรังไข่ และซีสต์ในรังไข่ เป็นต้น

เข้าใจความซับซ้อนของมดลูก และปัญหาประจําเดือนไม่มา

มดลูก (Uterus) เป็นส่วนของระบบสืบพันธุ์ที่พบในเพศหญิง ส่วนนี้คือแหล่งสำรองอาหารของทารกที่ยังเป็นตัวอ่อนในหญิงตั้งครรภ์

เป็นที่เจริญเติบโตของเด็กทารกจนมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรงดีแล้วก็จะกระตุ้นให้ทารกคลอดออกมา

ส่วนของมดลูกอยู่ภายในช่องท้องด้านล่างต่ำลงไปใต้สะดือ หรือที่เราเรียกกัน “ท้องน้อย”

เป็นอวัยวะที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดิมเสมอไป มันสามารถที่จะเคลื่อนที่ไปได้ทุกทิศทาง

และตำแหน่งหลักจะอยู่ระหว่างกระเพาะปัสสาวะกับทวารหนัก เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมาก

เพราะเป็นพื้นที่ๆ ให้ทารกเจริญเติบโต และเป็นส่วนที่ประจำเดือนถูกขับออกมา

ดังนั้นหากประจําเดือนไม่มา ตรวจแล้วไม่พบการตั้งครรภ์ อาจจะมาจากสาเหตุอื่นๆ ทั้งชนิดไม่ร้ายแรงและชนิดร้ายแรงก็ได้

ประจําเดือนไม่มาตรวจแล้วไม่ท้อง เป็นเพราะสาเหตุอะไรได้บ้าง ?

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) ประจําเดือนไม่มา หรือ ประจำเดือนขาด

เป็นภาวะที่สามารถพบได้ในผู้หญิงที่เราเข้าสู่ช่วยวัยเจริญพันธุ์ คือมีการตกไข่แล้ว เฉลี่ยจะอยู่ที่อายุ 11-15 ปีขึ้นไป ก็จะมีประจำเดือนมา

ทว่าในบางราย จะเกิดภาวะผิดปกติ ประจำเดือนไม่ยอมมาตั้งแต่เด็ก จะเรียกว่า “Primary amenorrhea” หรือภาวะประจำเดือนไม่เคยมา

แต่บางรายก็จะพบว่า เคยมีประจำเดือน แต่อยู่ดีๆ ประจําเดือนไม่มา2เดือนขึ้นไป จนถึง 3 เดือน

จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาวะขาดประจำเดือนที่มาจากหลายสาเหตุ แม้จะตรวจแล้วว่าไม่ท้อง

แสดงว่ามีสาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายหลาย เช่น ฮอร์โมน, ระบบโครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ที่ผิดปกติ และปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัว เป็นต้น

ประเภทของภาวะขาดประจำเดือน

ประเภทความผิดปกติของประจำเดือนที่ขาดหายไป ประจําเดือนไม่มาตรวจแล้วไม่ท้อง จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.ภาวะขาดประจำเดือนระยะปฐมภูมิ (Primary amenorrhea)

เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ไม่เคยมีประจำเดือนมาก่อน พบในเด็กตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป

ไม่เคยมีประเดือนมาเลย และยังพบว่าไม่มีลักษณะทางเพศของผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นลักษณะสะโพกผาย การขยายตัวของเต้านมที่ยังไม่ปรากฏขึ้น

2.ภาวะขาดประจำเดือนระยะทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea)

อาการนี้จะแตกต่างจากแบบแรก คือเป็นผู้หญิงที่เคยมีประจำเดือนมาก่อนแล้ว อยู่ดีๆ มีประจำเดือนขาดหายไป

นับตั้งแต่ 2-3 เดือนขึ้นไป มีทั้งในกลุ่มที่เกิดจากการขาดประจำเดือนตามธรรมชาติ เช่น ระยะตั้งครรภ์, ภาวะขาดประจำเดือนหลังคลอด, วัยทอง

และการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น ส่วนอีกประเภทจะเป็นภาวะขาดประจำเดือนที่มาจากโรคในร่างกายที่มีผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ และการกินยาคุมกำเนิดบ่อยๆ

(อ่านเพิ่มเติม : กินยาคุมแล้วประจําเดือนไม่มา)

ซึ่งสาวๆ ที่ตรวจไม่พบการตั้งครรภ์ อาจจะมาจากสาเหตุเหล่านี้ได้มากที่สุด

แม้พบว่าประจําเดือนไม่มาตรวจแล้วไม่ท้อง หากนั่นเป็นการตรวจคร่าวๆ ด้วยตัวเอง

ด้วยการใช้อุปกรณ์ตรวจปัสสาวะทั่วไป ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะเป็นตัวแสดงว่าไม่มีการปฏิสนธิ

ประจําเดือนไม่มา

Photo Creit : ikub.al

หากเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ความแน่นอนมากที่สุดคือการเข้ารับการตรวจจากสูตินารีแพทย์

ซึ่งจะมีการตรวจที่ละเอียดมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการตรวจปัสสาวะ การตรวจระดับฮอร์โมน HCG (ซึ่งจะพบในหญิงตั้งครรภ์)

การตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ การตรวจอัลตราซาวน์ และการตรวจผ่านทางช่องคลอด

ซึ่งจะช่วยให้ความชัดเจนในการตรวจสอบได้แม่นยำ สามารถทำการแก้ไขปัญหาประจําเดือนไม่มาได้อย่างถูกจุดนั่นเองค่ะ