ออกกำลังกายแล้วปวดหัว บ่อยๆ สัญญาณเตือนอันตราย อย่านิ่งนอนใจ!

ออกกำลังกายแล้วปวดหัว

ออกกำลังกายแล้วปวดหัว ปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งเช่นเดียวกันกับขณะที่เราออกกำลังกายก็สามารถทำให้เกิดอาการนี้ขึ้นมาได้ เชื่อว่า คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ คงเคยมีประสบการณ์กันมาบ้างไม่มากก็น้อย

แต่ส่วนใหญ่ก็จะปล่อยปละละเลยไป เพราะคิดว่าเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จากการออกกำลังกายอย่างหนัก หรือในช่วงพักผ่อนน้อย

แน่นอนว่า มันเป็นได้ทั้งอาการปวดแบบธรรมดา และอาการปวดที่มาจากสัญญาณเตือนบางอย่างในร่างกาย

ดังนั้นเมื่อรู้สึกปวดศีรษะในขณะเคลื่อนไหวร่างกายด้วยกิจกรรมเผาผลาญพลังงานอยู่ล่ะก็ ควรสังเกตตัวเองให้ดีว่า

นั่นเป็นอาการปวดแบบไหน เพื่อจะได้ป้องกันอันตรายที่อาจจะตามมาจนทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียวค่ะ

ชนิดและอาการ ของการออกกําลังกายแล้วปวดหัว

อาการปวดหัวขณะออกกำลังกายมีการจำแนกเอาไว้หลายอาการ และเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ทั้งแบบไม่อันตรายและมีอันตราย ดังต่อไปนี้

1.อาการปวดอันเนื่องมาจากความเครียด (Tension headache)

เป็นอาการปวดที่ถือว่าพบได้บ่อยในกลุ่มคนออกกำลังกาย โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก สาเหตุที่เกิดขึ้น

เชื่อว่ามาจากภาวะกล้ามเนื้อบริเวณรอบหนังศีรษะเกิดการหดตัว ทำให้เกิดความตึงเครียด บวกรวมกับสภาพจิตใจที่มาจากความกดดัน ความกังวล อาการหงุดหงิด การพักผ่อนไม่เพียงพอจนทำให้รู้สึกอ่อนหล้า

โดยอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นการปวดแบบตื้อๆ อย่างคงที่ หรือบางรายก็มีอาการปวดคล้ายกับว่ามีหนังยางมารัดกะโหลกศีรษะเอาไว้

ถือว่าเป็นอาการที่ไม่ได้ร้ายแรง แต่เมื่อปวดแล้วไม่ควรหักโหม เนื่องจากเป็นสัญญาณที่ร่างกายต้องการพัก พยายามทำตัวให้ผ่อนคลายห่างไกลจากความเครียดให้มากที่สุด

2.อาการปวดที่เกิดขึ้นจากโรคไมเกรน (Effort migraine)

อาการปวดชนิดนี้จะสังเกตพบในผู้ป่วยโรคไมเกรน ซึ่งพบอาการปวดได้บริเวณเบ้าตาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ลักษณะอาการปวดจะเป็นแบบตุ๊บๆ หากรุนแรงอาจมีความผิดที่ลานตา

ซึ่งจะพบได้บ่อยในขณะออกกำลังกาย กลุ่มนักกีฬาที่ไม่ค่อยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อสภาพความเหนื่อยมากๆ ได้

อีกทั้งยังมีสาเหตุที่เกิดขึ้นได้จากการได้รับน้ำและเกลือแร่ไม่เพียงพอ การออกกำลังกายในที่ร้อนมากเกินไป ทำให้ร่างกายระบายอากาศได้ไม่ดีพอ

อาการปวดชนิดนี้จะไม่ค่อยร้างแรง แต่เกิดขึ้นได้บ่อย การแก้ไขคือพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยลดอาการให้น้อยลงได้

3.อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอย จากการออกำลังกาย

อาการปวดท้ายทอยเป็นชนิดอาการที่ไม่รุนแรง พบได้มากในกลุ่มคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ซึ่งบางครั้งมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย จนต้องหยุดออกกำลังกายและนอนพัก

สาเหตุมาจากการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อและกระดูกส่วนต้นคอมากเกินไป ซึ่งยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดความปวดมากกว่าเดิม ทั้งนี้เมื่อเป็นแล้วอาการจะคงอยู่หลายชั่วโมง แม้จะหยุดพักแล้วก็ตาม

การแก้ปัญหาเบื้องต้นคือหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนในคนที่ปวดจนรู้สึกรำคาญให้กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาด้วย

4.อาการปวดที่เกิดจากศีรษะถูกกระแทกบ่อยครั้ง (Second-impact catastrophic headache)

สาวๆ คนไหนที่เล่นออกกำลังกายโดยให้ศีรษะของตัวเองรับแรงกระแทกบ่อยๆ แม้จะเป็นการกระแทกที่ไม่รุนแรงจนทำให้เจ็บปวด

แต่ก็ส่งผลกระทบต่อสมองภายในได้หากทำอย่างซ้ำๆ อีกทั้งยังเป็นตัวรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเกิดอาการปวดจะส่งผลให้ความดันในกะโหลกเพิ่มสูง

สมองส่วนกลางถูกกด ตามมาด้วยเส้นประสาทเป็นอัมพาต เป็นตัวการทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น ทั้งนี้หากไม่ทำการรักษา อาการปวดสามารถคงที่อยู่ได้นานเกือบเดือน และอาการปวดจะเป็นต่อเนื่องตลอดเวลา

5.อาการปวดศีรษะจากการถูกกระตุ้นเมื่อออกกำลังกาย (Aggravation of an established headache by exercise)

ลักษณะอาการปวดเช่นนี้จะเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีอาการปวดศีรษะเดิมอยู่ก่อน แม้จะเกิดจากเหตุใดก็ตาม การออกกำลังกายในช่วงที่มีอาการอยู่จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น

ซึ่งกรณีเช่นนี้ทางที่ดีคือการหยุดออกกำลังกายไปก่อนจนกว่าอาการปวดจะหาย หรือหากมีภาวะปวดแบบเรื้อรัง ทางที่ดีก็ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ จะได้ทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

6.อาการปวดจากความผิดปกติในกะโหลกศีรษะ

ลักษณะอาการปวดประเภทนี้จะเกิดขึ้นจากความผิดปกติภายในกะโหลก แม้จะเป็นอาการที่พบได้ไม่มากนัก แต่ก็เป็นสาเหตุที่ไม่ควรถูกตัดออกไป

เพราะหากนั่นเป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติของโรค เช่นการทำงานของระบบประสาท Arnold-Chiari deformities,การกดทับสมองบริเวณฐานกะโหลกศีรษะในส่วนของ platybasia หรือ Basilar impression,การมีเนื้องอกกดทับเนื้อสมอง ไปจนถึงการเกิดขึ้นได้จากภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Chronic and subacute subdural hematoma)

อาการที่ตามมามักจะไม่ได้มีแค่ปวดศีรษะเพียงอย่างเดียว แต่อาจทำให้รู้สึกอ่อนแรง แขนหรือขาชาเฉียบพลัน มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงขึ้นมาในขณะออกกำลังกาย รู้สึกอยากอาเจียน ชักกระตุก รูม่านตาตอบสนองผิดปกติ อาเจียน และเป็นลมหมดสติเอาได้

ออกกําลังกาย ปวดหัว pantip

Photo Credit : womenshealthmag.com

หากพบว่าตัวเองมีความรุนแรงของอาการปวดที่พ่วงมากับภาวะอื่นๆ ด้วยเช่นนี้ ก็ควรหยุดการออกกำลังกายเอาไว้ก่อน และหาเวลาเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเพื่อหาสาเหตุ

ดังอาการที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่าอาการปวดหัวขณะออกกำลังกายไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

เพราะนั่นสามารถเป็นได้ทั้งอาการเตือนถึงความผิดปกติภายในกะโหลกที่ต้องหาสาเหตุให้แน่ชัด จะได้ป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดอันตรายจากการออกกำลังกายแล้วปวดหัวตามมาได้ในภายหลังนั่นเองค่ะ