แสงสีฟัา คืออะไร อันตรายอย่างไร เป็นสิ่งที่พวกเราควรรู้อย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือจอสัมผัส หรือ Smartphone
แม้กระทั่งคอมพิวเตอร์พกพา หรือ Tablet กลายเป็นปัจจัยที่ห้า สำหรับทุกคนไปแล้ว
แต่ละคน อย่างน้อยต้องมีอุปกรณ์พกพาเหล่านี้ ติดตัวคนละ 1 ชิ้นกันเป็นอย่างน้อย ไว้สำหรับพูดคุย ติดต่อสื่อสารกัน หรือไม่ก็เล่นเกมส์ อ่านข่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ หรือไม่ว่าจะทำงาน หรือซื้อขายสินค้า ก็ทำได้บน Smartphone ได้อย่างง่ายดาย
ทั้งนี้ ประเทศไทย ยังติดอันดับ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์พกพา เยอะที่สุดในโลกอีกด้วย แซงหน้า สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นไปแล้ว
สังเกตได้ว่า ไม่ว่าเราจะเดินไปไหน ขึ้นรถ ลงเรือ ก็จะเห็นแต่คนก้มหน้า เล่นมือถือกันทั้งนั้น แทบจะทุกที่ ทุกเวลากันเลยทีเดียว
แสงสีฟ้า คืออะไร?
ขอบคุณภาพจากเวป http://specphone.com
แสงสีฟ้า คือ แสงที่ผสมอยู่ในช่วงแสงสีขาว ที่มนุษย์มองเห็น โดยแสงขาวแบ่งได้ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และ แดง
แสงสีฟ้า จะผสมอยู่ในช่วงน้ำเงินกับคราม แสงสีฟ้า คือ คลื่นแสงพลังงานสูง ที่มีความยาวคลื่น 400-500 นาโนเมตร
โดยแสงสีฟ้านั้น จะมีอยู่รอบตัวเรา พบได้ในแสงแดด หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ แต่ที่พบมากที่สุด คือ
หน้าจอคอมพิวเตอร์, มือถือสมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต ที่นิยมใช้กันตลอดเวลา
มากกว่า อุปกรณ์ชนิดอื่นๆ ทำให้เป็นอันตรายต่อดวงตาของเรา อย่างที่เราคาดไม่ถึง
การจ้อง หรือการใช้มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน จะเกิดผลกระทบกับเรา เช่น ปวดตา ตาแห้ง พร่ามัว น้ำตาไหล
และผลเสียที่สุด คือ เวลาก่อนนอน ที่คนมักจะเล่นไลน์ แชตคุยกับเพื่อน หรือเล่นเกมส์ เป็นเวลาที่จะเกิด อันตรายจากแสงสีฟ้า มากที่สุดนั่นเอง
และ เสี่ยงต่อการ เป็นโรค “คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” (computer vision syndrome) หรือ “โรคซีวีเอส” ได้
จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) จะทำให้เซลล์ตายได้ เนื่องจาก แสงสีฟ้า มีพลังงานมากพอที่จะไปกระตุ้นให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ภายในลูกตา
แล้วสารอนุมูลอิสระ จะทำให้เซลล์จอประสาทตาตายได้ อาจส่งผลทำให้เกิด โรคจอประสาทตาเสื่อม คือ จะมีอาการมองภาพตรงกลางไม่ชัด
เกิดการมองภาพบิดเบี้ยวไป เหมือนมีจุดดำบังตรงกลางภาพ และโรคนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
“แสงสีฟ้า” ยังถือเป็นเรื่องเล็ก แต่มีอีกประเด็นที่กำลังเป็นมหันตภัยเงียบ คือ “ตาขี้เกียจ” (Amblyopia)
“ตาขี้เกียจ” คือ ภาวะที่ตานั้นไม่ได้ใช้งานนานๆ มันจะหยุดการทำงานแค่นั้น เช่น ถ้ามีตาข้างหนึ่งดี อีกข้างมีสายตาสั้นมากๆ
ร่างกายจะใช้ตาข้างที่ดี แล้วไม่ใช้ตาข้างสายตาสั้นมากๆ
นั่นหมายความว่า ตาข้างนั้น อาจจะมองเห็นแค่นับนิ้วได้ ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะใช้การเลสิก หรือแว่นสายตา ก็ช่วยไม่ได้ ยกเว้นแต่แก้ไขก่อนอายุ 8 ขวบ
สายตาขี้เกียจ มักเจอข้างเดียวมากกว่า 2 ข้าง แต่ผมก็เคยเด็กที่เป็นทั้งสองข้าง น่าสงสารมาก
เพราะเจอเมื่อตอนอายุ 12 ขวบไปแล้ว และเขาต้องเป็นอย่างนั้นไปตลอดชีวิต ซึ่งแนะนำว่า ควรจะป้องกันไว้ ตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ยังเด็กๆ เลยดีกว่า
ผู้ปกครองท่านใด ที่เลี้ยงลูกด้วย มือถือ หรือ แทบเล็ต ควรจะดูแลบุตรหลานของท่าน ให้ห่างจาก อุปกรณ์พกพาพวกนี้ ไว้ก่อนดีกว่า
ทำอย่างไรให้ห่างไกล จาก แสงสีฟ้า
- หมั่นตรวจเช็คดวงตาปีละหน ป้องกันอาการเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สายตา และควรใส่ใจตรวจสอบดวงตาว่า มีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น ตาแห้งง่าย ไม่ควรใช้งานสายตาเป็นเวลานานติดต่อกัน หากจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือทำงานกับแสงจ้าเป็นเวลานาน ก็ควรพักสายตาทุก 30-45 นาที
- การติดฟิล์มกันรอย ที่มีคุณภาพดี และมีประสิทธิภาพ ในการถนอมสายตา ช่วยกรองแสงสีฟ้าออกจากหน้าจอได้
- การบำรุงสายตาด้วยอาหารที่มีประโยชน์ อย่าง ผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอ ซี อี เบต้าแคโรทีน และไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แครอท, ผักบุ้ง, ตำลึง, ผักคะน้า, มะละกอ, มะม่วงสุก ก็สามารถช่วยบำรุงและถนอมสายตาได้ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก Thairath online, matichon online, specphone.com