โรคหัวใจโต คืออะไร อันตรายมากแค่ไหน การดูแลผู้ป่วยที่ต้องใส่ใจ

โรคหัวใจโต เกิดจาก อันตรายไหม

โรคหัวใจโต เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนคุ้นหูกันดี เพราะโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ล้วนเป็นโรคที่น่าพะวงยิ่งนัก

วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับโรคหัวใจโต ว่าอันตรายไหม โรคนี้มีลักษณะอาการเป็นอย่างไร การดูแลรักษาป้องกันได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ

โรคหัวใจโต คืออะไร?

โรคหัวใจโต มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Cardiomegaly เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่มากกว่าปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน

แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดี

จนส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว สำหรับอาการของโรค สาเหตุในการเกิด รวมถึงวิธีการดูแลรักษาตนเองก็มีดังนี้

อาการของโรคหัวใจโต

โรคหัวใจโต จะมีอาการอื่น ๆ ปรากฏร่วมด้วย แต่หากโรคหัวใจโตส่งผลทำให้เลือดสูบฉีดไม่ดีพอ

จะทำให้เกิดอาการที่แสดงถึงภาวะหัวใจล้มเหลวตามมา ในผู้ป่วยบางรายจะทำให้เกิดอาการเล็กน้อยต่อเนื่องกันหลายปี

ในบางรายจะมีอาการเหนื่อยหอบแย่ลงเรื่อย ๆ โดยมีอาการที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้

  • หายใจเหนื่อยหอบ
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • น้ำหนักเพิ่ม
  • ขาบวม
  • ใจสั่น อาจมีอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ

หากตรวจพบโรคระยะเริ่มต้นจะทำให้การรักษาทำได้ง่าย หากพบว่าตนเองมีอาการข้างต้นแล้วรู้สึกกังวลให้รีบไปปรึกษาแพทย์

สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจหอบรุนแรง เป็นลม รู้สึกปวดบริเวณหน้าอก แขน หลัง คอ หน้าท้อง ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุของภาวะหัวใจโต

เป็นอาการเจ็บป่วยที่ส่งผลทำให้หัวใจทำงานหนัก จนทำให้หัวใจเสียหายซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจโต

เช่น การมีหัวใจพิการมาตั้งแต่เด็ก หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ในบางรายอาจมีหัวใจขนาดใหญ่

หรืออ่อนแอลง โดยไม่ทราบสาเหตุ การขยายใหญ่ของหัวใจอาจเกิดจากภาวะดังต่อไปนี้

1.ความดันโลหิตสูง จะส่งผลทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ไม่ดี เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจโต

เพราะหัวใจห้องล่างขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อค่อย ๆ อ่อนแอลง นอกจากนี้ยังทำให้หัวใจห้องบนโตขึ้น

2.โรคลิ้นหัวใจ เกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจห้องต่าง ๆ

จนทำให้เกิดภาวะความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคไข้รูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ

โรคเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อลิ้นหัวใจ จนส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจโต

3.โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจแข็งและก่อตัวหนาขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลทำให้หัวใจโตขึ้น

เพราะหัวใจต้องทำงานหนักกว่าเดิม เพื่อสูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร่างกายมากขึ้น

4.โรคโลหิตจาง เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ที่จะนำออกซิเจนไปตามเนื้อเยื้อต่าง ๆ

หากไม่ได้รับการรักษาจะกลายเป็น ภาวะโลหิตจางชนิดเรื้อรัง จนส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

จึงทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้น เพื่อทดแทนการขาดออกซิเจนในเลือด

5.ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษและไทรอยด์ต่ำ เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะหัวใจโตได้ด้วย

6.ภาวะเหล็กเกิน เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำธาตุเหล็กไปใช้

จนทำให้มีธาตุเหล็กสะสมอยู่ตามอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีธาตุเหล็กสะสมอยู่มาก

ส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ จนทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดใหญ่ขึ้นในที่สุด

นอกจากนี้ภาวะหัวใจโตยังเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อไวรัสบริเวณหัวใจ

อาจเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงใกล้คลอด โรคไตในระยะที่ต้องฟอกไต การใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงหัวใจโต

  • ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยมีระดับมากกว่า 140 / 90 มิลลิเมตรปรอท
  • ผู้บุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติเคยป่วยเป็นโรคหัวใจโต หรือเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจโต

การรักษาด้วยการดูแลตนเอง

การรักษาโรคหัวใจโตจะเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อทำให้อาการของโรคดีขึ้น

ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใด ๆ โดยควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็ม อาหารหวาน งดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม

2.งดสูบบุหรี่

3.ควบคุมน้ำหนัก

4.ออกกำลังกายให้เหมาะสม

5.ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่ให้สูงมากจนเกินไป

6.พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนวันละ 8 ชั่วโมง

การรักษาโดยการใช้ยา

สำหรับภาวะหัวใจโตที่เกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติและโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ แพทย์จะสั่งจ่ายยาตัวใดตัวหนึ่งดังต่อไปนี้

– ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยลดปริมาณแคลเซียมและน้ำในร่างกาย จะช่วยทำให้ระดับความดันในเส้นเลือดและหัวใจลดต่ำลง

– ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นยาที่ใช้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง

– ยาลดความดันกลุ่ม ACEI เป็นยาที่ใช้ลดความดันโลหิต จะช่วยทำให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น

– ยาลดความดันกลุ่ม ARBs เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยาลดความดันกลุ่ม ACEI ได้ แพทย์จะใช้ยาชนิดนี้แทน

การรักษาโดยการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์และการผ่าตัด

– การผ่าตัดลิ้นหัวใจ หัวใจโตที่มีสาเหตุเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ จะต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

– ใช้เครื่องกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในห้องหัวใจล่างซ้าย สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว มีหัวใจอ่อนแอ

อาจจะต้องใช้อุปกรณ์นี้ช่วยในการสูบฉีดเลือด โดยการใส่เครื่องมือชนิดนี้ ระหว่างรอการปลูกถ่ายหัวใจ

– การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นวิธีสุดท้าย หากรักษาด้วยยาและวิธีอื่นแล้วไม่ทำให้อาการดีขึ้น

การรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องรอการรับการบริจาคหัวใจ ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่เพียงพอ ทำให้ต้องรอเป็นเวลานาน

การป้องกันภาวะหัวใจโต

สำหรับผู้ที่สมาชิกในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจโต เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ

ควรปรึกษาแพทย์ถึงภาวะความเสี่ยง เนื่องจากการตรวจวินิจฉัยโรค หากพบในระยะเริ่มต้น ทำให้รักษาได้ทันท่วงที

จะช่วยป้องกันอาการได้ ช่วยไม่ให้เกิดภาวะหัวใจโต นอกจากนี้ เรายังสามารถดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยง

ต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดหัวใจ โดยการควบคุมระดับความดัน ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด

ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน การป้องกันโรคทำได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เลี่ยงอาหารที่มีเกลือสูง งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดทุกชนิด

รักษาโรคหัวใจโต

Credit : clinicalpainadvisor.com

โรคหัวใจโต เป็นโรคอันตรายอย่างหนึ่งที่รักษาให้หายขาดได้ยาก เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สามารถทำการรักษาได้โดยการใช้ยาหรือการผ่าตัด

เราสามารถลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจโตได้ด้วยการควบคุมระดับความดันโลหิต หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ เพียงแค่นี้ก็ทำให้หัวใจมีสุขภาพแข็งแรงได้แล้ว