รู้จักกับ โรคไวรัสตับอักเสบซี (Viral hepatitis C) อาการ และวิธีการรักษาที่ถูกต้อง

โรคไวรัสตับอักเสบซี รักษาหายไหม

เราส่วนใหญ่คงคุ้นหูกับชื่อของ ไวรัสตับอักเสบบี กันมากกว่า แต่ทราบหรือไม่ว่าภาวะตับอักเสบยังเกิดขึ้นได้จากไวรัสตับอักเสบซี ได้เช่นเดียวกัน

ในปัจจุบัน โรคไวรัสตับอักเสบซี มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น โดยพบได้แบบบังเอิญในกลุ่มคนที่มาเข้ารับบริจาคเลือดประมาณร้อยละ 2

อีกทั้งยังจัดอยู่ในกลุ่มของโรคติดต่อ สามารถติดกันได้ผ่านทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือเกิดการรับเชื้อจากแหล่งอื่นที่ไม่ทราบสาเหตุได้ด้วย

ผู้ป่วยที่เกิดโรคตับอักเสบขึ้น จะเสี่ยงเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังได้สูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเปลี่ยนสภาพกลายเป็นโรคตับแข็งได้

หากไม่ทำการรักษาภายใน 10 ปีขึ้นไป และสามารถรุนแรงจนนำไปสู่มะเร็งตับ แม้จะไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มคนที่ชอบดื่มสุราก็ตาม

ดังนั้นเพื่อเป็นการดูแลสุขภาพตัวเอง โรคตับอักเสบชนิดนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องไกลตัว สาวๆ ควรหันมาสังเกตตัวเอง

พร้อมทำความเข้าใจกับการเกิดโรค ที่จะได้ช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกับตัวเองในอนาคตได้ค่ะ

โรคไวรัสตับอักเสบซีคืออะไร ?

ไวรัสตับอักเสบซี (Viral hepatitis C) เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากกลุ่มของเชื้อไวรัสตับอักเสบ ที่มาจากหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่พบได้บ่อยคือสายพันธุ์ เอ, บี และ ซี

ซึ่งนอกจากสองชนิดแรก เรายังพบกลุ่ม ซี ที่เป็นตัวทำให้เกิดโรคได้บ่อยเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในเด็กแรกเกิด ผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยสูงอายุ

เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายติดต่อกันผ่านทางเลือด และการมีเพศสัมพันธ์ได้

เช่นเดียวกันกับไวรัสตับอักเสบบี แต่จะไม่ติดต่อจากการไอ จาม กินน้ำและอาหารด้วยกัน

หลังจากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปอาศัยอยู่ในตับ มีระยะฟักตัวประมาณ 6-8 สัปดาห์

ในช่วงแรกจะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบอย่างเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะยังไม่ปรากฏอาการให้เห็นมากนัก

หรือบางรายก็แทบไม่มีอาการเลย ทำให้ไม่สามารถตรวจพบได้ว่ามีภาวะตับอักเสบเกิดขึ้น

การติดเชื้อจะเกิดขึ้นแบบเรื้อรังเป็นส่วนใหญ่ ตับจะเกิดการอักเสบอย่างช้าๆ ไม่มีอาการให้เห็นอย่างชัดเจน

ซึ่งใช้เวลาที่ส่งผลให้ตับเสื่อมสภาพจนกลายเป็นโรคตับแข็งประมาณ 10-20 ปี

ผู้ป่วยที่เกิดโรคตับแข็งขึ้น จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตามมาได้ถึงร้อยละ 3

ขนาดของเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จะมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

การตรวจหาทางการแพทย์ จึงใช้วิธีสกัด นำเอาสารพันธุกรรมของไวรัสมาขยายจำนวนให้เพิ่มมากขึ้นเป็นล้านเท่า

จึงจะมองเห็นได้ อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยคืออาการอ่อนแอเพียงเล็กน้อยเท่านั้น บางรายอาจมีภาวะดีซ่านร่วมด้วย

ในกลุ่มนี้หากสังเกตตัวเองให้ดี และพบอาการผิดปกติดังกล่าว จะต้องใช้การตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของตับ

ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสจะมีค่าการทำงานของตับที่ผิดปกติ (ดูจากค่า ALT (SGPT) และ  AST (SGOT))

โรคนี้มีความรุนแรงและน่ากลัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากการตรวจพบในระยะแรกทำได้ยาก

ผู้ป่วยไม่ชะล่าใจ เพราะอาการที่เกิดขึ้นมีเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่มีอาการ

อีกทั้งการดำเนินของโรคยังเป็นไปอย่างช้าๆ การอักเสบจึงเป็นแบบเรื้อรัง

ใช้เวลานานหลายสิบปีกว่าจะเกิดอาการที่รุนแรงให้เห็น นอกจากนี้ยังไม่มีวัคซีนที่เป็นตัวช่วยป้องกันการเกิดโรคโดยตรง

การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น กรณีเกิดอาการอ่อนเพลียมาก แพทย์ก็จะให้นอนพักผ่อน หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ เป็นต้น

สาเหตุของการเกิด ไวรัสตับอักเสบซี

เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบซี เกิดขึ้นได้จากการติดต่อทางสายเลือด

สาเหตุที่ผู้ป่วยจะได้รับเชื้อเข้าไปจึงมาจากการติดต่อจากคนสู่คน ผ่านทางเลือด

ไม่ว่าจะเป็นการได้รับเลือดจากผู้ที่มีเชื้อ ติดต่อจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีเลือดติดอยู่ เช่น เข็มเจาะหู เข็มฉีดยา

การสัก แผลสัมผัส สารคัดหลั่งปนเลือด เพศสัมพันธ์ การคลอดบุตร กรรไกรตัดเล็บ

และการสัมผัสกับเลือดของผู้ป่วยโดยตรง แม้จะใช้วิธีกำจัดด้วยการทำความสะอาดผ่านความร้อน

การต้ม หรือซักทำความสะอาด ก็ไม่ได้ทำลายเชื้อทั้งหมดได้ ทำได้เพียงแค่ให้มีปริมาณลดลงเท่านั้น

ซึ่งหากจะกำจัดจริงๆ ต้องใช้หลักทางการแพทย์ช่วยมาช่วย

อาการไวรัสตับอักเสบซี

อาการที่พบเห็นได้บ่อยของผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี มักจะมีอาการไม่มากนัก

มักจะมีอาการอ่อนเพลียหลังจากได้รับเชื้อในไม่กี่สัปดาห์ รู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน

บางรายจะพบว่ามีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือที่เรียกกันว่าดีซ่าน แต่จะไม่ค่อยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย

ประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ พบว่า ตัวเองมีอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อน 1 สัปดาห์ ก่อนจะตามมาด้วยภาวะดีซ่าน

แต่ในผู้ป่วยที่ไม่ได้เกิดตับอักเสบแบบเฉียบพลัน จะไม่ค่อยมีอาการในระยะแรก

จนกว่าตับจะถูกทำลายไปพอสมควร จนทำให้เกิดภาวะตับและม้ามโต ปวดตามกล้ามเนื้อ ข้อ

และชายโครงด้านขวา ท้องบวม เท้าบวม กล้ามเนื้อลีบแบน เป็นต้น

ไวรัสตับอักเสบซี การติดต่อ

การติดต่อของเชื้อไวรัสชนิดนี้จะได้รับผ่านทางเลือดและส่วนประกอบของเลือด

พบได้ในกลุ่มคนที่เคยได้รับเลือดก่อนปี พ.ศ.2535 เนื่องจากในช่วงนั้นไม่เคยมีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเลือดที่บริจาคมาก่อน

ในกลุ่มคนที่เคยได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปี พ.ศ.2535 ผู้ป่วยเชื้อ HIV ผู้ที่ใช้สารเสพติดด้วยการฉีดเข้าเส้นเลือด

การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อ การสักตามลำตัว ผู้ที่สำส่อนทางเพศ เป็นต้น

ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เรารับเอาเชื้อไวรัสชนิดนี้เข้าสู่เลือดและตับได้

การรักษาไวรัสตับอักเสบซี

คนที่มีความเสี่ยง และอยู่ในกลุ่มน่าสงสัยว่าจะติดเชื้อไวรัส จะมีการตรวจจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

ตรวจวัดภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี (anti-HCV) หากพบว่าเป็นค่าบวก หมายถึงมีการติดเชื้อมาก่อนหน้านี้

ซึ่งในขณะตรวจอาจมีเชื้อหรือไม่มีอยู่ก็ได้, มีการตรวจนับเพื่อหาปริมาณของเชื้อไวรัสด้วยวิธี polymerase chain reaction (PCR),

การเจาะนำเอาชิ้นเนื้อตับไปวินิจฉัยในผู้ป่วยบางราย และการตรวจวัดค่าการอักเสบของตับเพื่อหาความผิดปกติของการทำงาน

เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัส ซึ่งจะแบ่งเป็นการอักเสบแบบเฉียบพลัน และการอักเสบแบบเรื้อรัง

จะมีการนัดตรวจเลือดอีกครั้งทุก 6-12 เดือน โดยขั้นตอนการรักษาจะพิจารณาตามความเหมาะสม

ภาวะของโรค ความรุนแรง และอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยร่วมด้วย

การ รักษา โรค ไวรัส ตับ อักเสบ ซี
Photo Credit : ucsf.edu

การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสตับอักเสบซีว่าจะใช้ระยะเวลารักษานานแค่ไหน บางรายใช้เวลาเพียง 1 ปี

ก็สามารถหายเป็นปกติ บางรายอาจรักษาหายแล้ว แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นได้สูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์

เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบซี เป็นโรคที่ค่อนข้างตรวจพบได้ยากเมื่อติดเชื้อแล้ว

ดังนั้นสาวๆ จะต้องหมั่นดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้ตัวเองรับเชื้อ และในกลุ่มผู้ป่วย

หากพบความผิดปกติ ก็ควรเข้ารับการตรวจจาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป