ตะคริว (ภาษาอังกฤษ – Cramp) เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อย และเชื่อว่าสาวๆ ทุกคนต้องเคยประสบกับปัญหานี้กันมาบ้างแล้วไม่มากก็น้อย
โดยอาการที่เกิดขึ้นจะหนักเบาแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และกิจกรรมที่ทำในช่วงเวลานั้นๆ
แม้ไม่ใช่อาการที่มีอันตรายร้ายแรงโดยตรง แต่ก็มักสร้างความเจ็บปวด และทำให้เกิดอันตรายทางอ้อมได้
หากอาการเกิดขึ้นในช่วงที่กำลังทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง อย่าง การว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน
แถมหากสังเกตให้ดี ใครที่มีเป็นตะคริวบ่อย นั่นอาจจะเป็นสัญญาณของว่า ร่างกายกำลังขาดน้ำ
สาวๆ ที่สงสัยว่า ตะคริวเกิดจากอะไร? มีวิธีรับมือกับมันอย่างไรนั้น
ควรทำความเข้าใจถึงต้นตอของการเกิดอาการ พร้อมสังเกตสภาพร่างกายของตัวเองไปพร้อมๆ กันด้วยค่ะ
ลักษณะของการเกิดตะคริวที่พบได้ทั่วไป
ตะคริวที่สาวๆ รู้จัก เกิดขึ้นจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อในระยะเวลาสั้นๆ แต่ในช่วงที่เกิดอาการขึ้นนั้น จะทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ดี
เกิดอาการเจ็บปวด บางรายอาจรุนแรง จนไม่สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อส่วนนั้นได้
หากเป็นช่วงเวลาขับรถยนต์ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือทำงานที่มีความเสี่ยงสูง อย่างการควบคุมเครื่องจักร
อาจส่งผลให้เกิดอันตรายทางอ้อมตามมา จนถึงขั้นเสียชีวิตได้กันเลยทีเดียว
ด้วยการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่ ไม่สามารถบังคับได้ จะมีอาการร่วมกับความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อที่เกิดการหดตัว
เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อมัดไหน มัดนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทั้งกล้ามเนื้อมัดเดียวหรือทุกมัดพร้อมๆ กัน
ไม่ว่าจะเป็นส่วนของกล้ามเนื้อขา แขน เนื้อเยื่อภายนอกร่างกาย ต้นขา แผ่นหลัง กระดูกซี่โครง เป็นต้น
และยังเกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน ที่พบได้บ่อยจะเป็นตะคริวที่ท้อง ที่น่อง
เนื้อเท้า และขาเป็นตะคริว ซึ่งเป็นส่วนของกล้ามเนื้อลายมากกว่ากล้ามเนื้ออื่น
ตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ไปจนถึงผู้สูงอายุ และยังพบตะคริว คนท้องในทุกช่วงอายุครรภ์ได้อีกด้วย
เมื่อมีอาการเกิดขึ้น หากไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
การดูแลตัวเองก็จะช่วยให้ตะคริวหายไปได้เอง โดยอาการจะคงอยู่ไม่นานประมาณ 10 นาที
หากเป็นผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มักพบว่ามีอาการเกิดขึ้นประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์กันได้เลยทีเดียว
สาเหตุของการเกิดตะคริว
อาการตะคริวที่เกิดขึ้น มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งอาการที่พบ
ไม่ได้มีเพียงแค่ในช่วงที่ระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ ในระหว่างวันเท่านั้น แต่ยังตะคริว ตอนนอน เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน
สันนิษฐานกันว่าตะคริว เกิดจากขาดวิตามิน แมกนีเซียม ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลของเกลือแร่ภายในร่างกาย
ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับโรคท้องร่วง การเสียเหงื่อ อาเจียน การทานอาหารแบบเดิมๆ
จนทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหาร และภาวะขาดน้ำที่ร่างกายส่งสัญญาณเตือนด้วยอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเกิดตะคริวอย่างรุนแรงขึ้นได้
นอกจากนี้ ยังเกิดขึ้นจากการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการใช้งานหนัก
ทำให้เกิดความอ่อนล้า การออกกำลังกายที่ไม่ได้รับการยืดหยุ่นก่อน จะส่งผลให้เกิดตะคริวได้บ่อย
เนื่องจากกล้ามเนื้อขาดเลือด ออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ได้ไม่เพียงพอ
วิธีรักษาและป้องกันตะคริว
ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจก่อนว่า ตะคริวแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน คือ
1.ตะคริวที่เกิดจาก Paraphysiological cramps – เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อถูกกระตุ้น
ซึ่งมักเกิดในกลุ่มที่ออกกำลังกายหักโหม หรือการออกกำลังกายที่ไม่คุ้นเคย
การเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายหลังจากการทำงานหนักของกล้ามเนื้อ
อีกทั้งยังพบได้ในกลุ่มคนท้อง และคนทั่วไปที่อยู่กับที่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
2.ตะคริวที่เกิดจาก Symptomatic cramps – เป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยมีโรคประจำตัวเป็นส่วนกระตุ้น
ซึ่งมักจะเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระดับเกลือแร่ในร่างกาย ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ
แคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมต่ำ หรือการทานยาบางชนิดก็ทำให้เกิดตะคริวได้
เช่น ยาขยายหลอดลม ยาขับปัสสาวะ และยาลดความดันโลหิต เป็นต้น
คนที่เป็นตะคริวสามารถรักษาอาการในเบื้องต้นได้ด้วยการนวดบริเวณกล้ามเนื้อที่เกิดการเกร็งและหดตัว
ซึ่งจะช่วยทำให้มัดกล้ามเนื้อยืดตัวออก โดยค่อยๆ ทำอย่างเบามือช้าๆ เพราะการนวดอย่างรุนแรง
อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด กระตุ้นให้ตะคริวรุนแรงมากขึ้นได้
หากผู้ป่วยเป็นตะคริวบริเวณกล้ามเนื้อน่องและขา ซึ่งพบได้บ่อย ควรให้ผู้ป่วยเหยียดขาให้ตรงอย่างช้าๆ
จากนั้นดันปลายเท้าเข้าหาตัวให้มากที่สุด ซึ่งอาจรู้สึกตึงและเจ็บบริเวณที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
เมื่อทำไปสักครู่จะช่วยให้อาการค่อยๆ ดีขึ้นได้ ทว่าในระหว่างนั้นก็ควรสังเกตอาการให้ดี
เพราะตะคริวสามารถกลับมาได้อีกหากกล้ามเนื้อยังถูกใช้งานหนักภายหลังทันทีที่หาย
ทางที่ดีเมื่อเกิดตะคริวขึ้นแล้ว ในช่วงระยะเวลานั้นควรพักผ่อนกล้ามเนื้อให้มากที่สุด
หยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย พยายามนวดและยืดเส้นอย่างสม่ำเสมอ จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อคลายตัวได้ดี
ไม่มีอาการเกร็งหรือปวดเกิดขึ้นแล้ว หากเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
สามารถใช้ผ้าประคบน้ำอุ่นปิดทับเอาไว้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการ ลดความเจ็บปวดให้น้อยลงได้
อย่างไรก็ตาม หากการดูแลตัวเองในเบื้องต้นยังไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์
ซึ่งแพทย์จะให้ยาคล้ายกล้ามเนื้อก่อนเพื่อทุเลาอาการ จากนั้นก็จะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
ส่วนการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากการเกิดตะคริว ในกลุ่มคนที่มีสภาพร่างกายปกติ
ควรหมั่นดื่มน้ำให้มากๆ ในแต่ละวัน ยิ่งในช่วงที่มีเหงื่อออก หรือท้องเสีย ควรดื่มเกลือแร่เพื่อทดแทนส่วนที่เสียไปด้วย
ในระหว่างวันหลีกเลี่ยงการนั่งๆ นอนๆ ในท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน
พยายามยืดหยุ่นกล้ามเนื้อหากพบว่าตัวเองเป็นตะคริวบ่อยในส่วนของมัดกล้ามเนื้อนั้นๆ
ทั้งนี้ให้สังเกตเอาไว้ว่าหากเกิดตะคริวขึ้นอยู่บ่อยๆ ปัญหามักมาจากการที่ร่างกายสูญเสียเกลือแร่
Photo Credit : wittyfeed.com
ที่อาจมาจากสาเหตุอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็น การเสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา ภาวะขาดน้ำ หรืออาการเจ็บป่วย
หากตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ทางที่ดีเพื่อป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ควรดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
เพื่อช่วยทดแทนส่วนที่เสียไปให้เพียงพอกับความต้องการ ป้องกันไม่ให้ระบบร่างกายเสียสมดุล ก็จะช่วยลดการเกิดตะคริวให้น้อยลงได้ค่ะ