โรคไขมันพอกตับ อันตรายจากการกินอาหารไขมันสูง!

โรคไขมัน พอก ตับ การ รักษา

โรคไขมันพอกตับ (fatty liver disease) เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการที่มีไขมันไปสะสมในตับ ซึ่งจะสามารถตรวจพบได้บ่อยจากการที่ตับมีการทำงานผิดปกติเพียงเล็กน้อย

จะตรวจพบอยู่ในค่า SGOT และ SGPT ที่สูงมาก ซึ่งทั้งสองค่าเป็นเอนไซม์ที่หลั่งออกมาจากตับ ทำให้เราทราบว่า ตับอาจเกิดการอักเสบหรือทำงานผิดปกติอื่นใดเกิดขึ้น

โดยทั่วไปโรคนี้จะไม่ค่อยทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ แต่มักจะไปส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นแทน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพตับของสาวๆ ให้มากขึ้น ลองมาเช็คสัญญาณร่างกายที่ผิดปกติ อาจมาจากสาเหตุของโรคนี้ก็เป็นได้ค่ะ

โรคไขมันพอกตับ คืออะไร ?

โดยปกติแล้ว ภายในตับจะมี ไขมันสะสม อยู่ราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตับ

หากเกิดภาวะไขมันพอกตับนั่นหมายถึงมีไขมันเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตับ โดยส่วนมากจะอยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

ปริมาณของไขมันที่พอกเกินมาในตับ มาจากปริมาณร่างกายที่ได้รับไขมันมากเกินไปจากการกินอาหาร ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเอาส่วนเกินออกไปได้ทั้งหมด

ร่างกายจึงเปลี่ยนไขมันให้ไปสะสมอยู่ที่ตับแทน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบของเซลล์ตับตามมาได้ในระยะยาว ทำให้เนื้อตับถูกทำลาย กลายเป็นพังผืด จนนำไปสู่โรคตับแข็งได้ในที่สุด

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ

สาเหตุจากไขมันที่พอกอยู่ในตับเกิดได้จากหลายสาเหตุ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ

1.ไขมันพอกตับจากการดื่มสุรา

จะเป็นไขมันที่สะสมตัวจากสาเหตุของคนที่ดื่มสุราในปริมาณมากๆ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

ส่งผลให้เซลล์ตับถูกทำลายอย่างต่อเนื่อง จนมีไขมันมาพอกอยู่ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในระยะแรก

หากไม่หยุดดื่มสุราภายใน 6 สัปดาห์ ตับก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพ นำไปสู่โรคตับแข็ง

และไม่สามารถกลับมาใช้งานตับได้เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งในกลุ่มผู้ดื่มสุรา ยังเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับแบบเฉียบพลันได้อีกด้วย

2.ไขมันพอกตับจากคนที่ไม่ดื่มสุรา

เรียกไขมันที่พอกตับชนิดนี้ว่า Nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD)

ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นไขมันชนิด triglyceride สะสมอยู่ในเซลล์ตับได้โดยที่คนนั้นไม่เคยดื่มสุรามก่อน

ไขมันเหล่านี้จะเข้าไปส่งผลให้ตับเกิดอาการอักเสบในระยะเริ่มต้น ซึ่งเมื่อทำการตรวจจะพบปริมาณไขมันเกินร้อยละ 10 ของน้ำหนักตับ

3.ไขมันพอกตับร่วมกับการอักเสบ

ไขมันพอกตับในกลุ่มที่เกิดภาวะอักเสบร่วมด้วย ซึ่งพบได้ในกลุ่มที่ไมดื่มสุรา

เรียกกันว่า nonalcoholic steatohepatitis (NASH) สามารถกลายสภาพเป็นโรคตับแข็งได้เดียวกัน

ซึ่งในทางการแพทย์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

4.ไขมันพอกตับในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์

เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์

มักพบในช่วงไตรมาสที่ 3 โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายหลังจากคลอดบุตร

อาการไขมันพอกตับ เป็นอย่างไร

อาการไขมันพอกตับ โดยทั่วไปที่พบได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่เกิดขึ้นจากการดื่มสุราหรือไม่ดื่มมักจะมีอาการเหมือนๆ กัน

แต่โดยมากจะไม่ค่อยปรากฏอาการรุนแรงให้เห็น จะเป็นเพียงแค่ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา

เริ่มต้นจากปวดแบบเล็กน้อย แล้วค่อยๆ มากขึ้นแบบช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป รู้สึกอ่อนเพลีย

เบื่ออาหาร ไม่มีเรี่ยวแรง น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว คลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม อาจคลำพบตับได้จากภายใน เนื่องจากตับบวมโต

ในรายที่ไม่มีอาการใดๆ ก่อนหน้านี้แสดงให้เห็น มักจะตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจเลือด

และสังเกตค่าความผิดปกติในการทำงานของตับ หรือบางรายก็ตรวจพบจากการอุลตร้าซาวน์จากโรคอื่นของตับ ถุงน้ำดี หรือการตรวจบริเวณช่องท้อง

การรักษาโรคไขมันพอกตับ

การรักษาโรคไขมันพอกตับ หลังจากทำการวินิจฉัยอาการแล้ว หากพบว่ามีไขมันพอกเกินมาตรฐานที่ระบุไว้

จัดว่าผู้ป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับ จะทำการรักษาด้วยการซักประวัติพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์

การเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ประวัติการใช้ยา การตรวจสุขภาพ

มีการตรวจเลือดเพื่อดูค่าการทำงานของตับ อัลตราซาวน์เพื่อดูลักษณะโครงสร้าง

และอาจมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมเข้ามาด้วย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

หากไขมันที่พอกตับเกิดขึ้นจากการดื่มสุรา ผู้ป่วยจะต้องเลิกดื่มสุราอย่างเด็ดขาด

แพทย์จะมีการให้ยาลดไขมันร่วมด้วย เพื่อใช้รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ

มีการให้ยาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับ ช่วยให้เกิดการไหลเวียนเลือดในตับ

มีการเสริมวิตามินอีเพื่อกำจัดไขมันส่วนเกิน โดยผู้ป่วยจะต้องควบคุมน้ำหนัก

กินอาหารตามคำแนะนำของแพทย์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ไขมันพอกตับ pantip

Photo Credit : medscape.com

ตามปกติ โรคไขมันพอกตับ มักจะไม่ค่อยตรวจพบได้ในช่วงระยะแรกที่เป็น เนื่องจากจะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น

การรักษาแพทย์จึงต้องดูว่า อาการของโรคลุกลามไปถึงระยะไหนแล้ว หากเป็นเพียงระยะที่มีไขมันพอก ก็จะทำการรักษาให้ตับกลับมาทำงานได้ตามปกติ

แต่หากอาการรุนแรงมีการอักเสบ ตับบวมโต เข้าสู่ภาวะตับแข็งแล้ว อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น

และผู้ป่วยก็จะไม่สามารถกลับมาหายเป็นปกติได้ดังเดิม จะใช้ยาประคับประคองอาการ และดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่เป็นปกติสุขต่อไปได้