โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (ไทรอยด์เป็นพิษ) สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาอย่างถูกต้อง

โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (ไทรอยด์เป็นพิษ) เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เนื่องจากโรคนี้ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการไทรอยด์เป็นพิษได้ โรคนี้ค่อนข้างมีความรุนแรงพอสมควร เพราะถ้าหากละเลยไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หลังการรักษาอย่างเคร่งครัด ก็จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเราจึงได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (ไทรอยด์เป็นพิษ) มาให้ทำความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น เผื่อว่าวันหนึ่งมีอาการของโรคนี้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนใกล้ตัว จะได้ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องต่อไป โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (ไทรอยด์เป็นพิษ) คืออะไร? โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ (ไทรอยด์เป็นพิษ) (ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Hyperthyroidism หรือ Overactive Thyroid) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของบริเวณลำคอ มีอยู่ด้วยกันทั้ง 2 ฝั่งซ้ายและขวาในลักษณะของกลีบคล้ายกับปีกผีเสื้อ ปกคลุมบริเวณพื้นที่ด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ หรือมากเกินความจำเป็นของร่างกาย จึงเป็นเหตุให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด และมีอาการเจ็บป่วยมากมายตามมา และโดยทั่วไปนั้น ต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกายออกมา 3 ชนิด คือ ฮอร์โมนไทรอกซีน (T4) ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีน (T3) ฮอร์โมนแคลซิโทนิน โดยทั่วไปแล้ว ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ที่มักจะเป็นที่กล่าวถึงมาที่สุด คือฮอร์โมน T3 และ T4 […]

kaewsai

December 25, 2017

รู้จักโรคไทรอยด์ อาการไทรอยด์ต่ํา โรคใกล้ตัวที่ควรใส่ใจรู้เท่าทัน

ต่อมไทรอยด์ จัดว่าเป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย แต่เรากลับรู้จักเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์น้อยมาก รวมถึงความสำคัญของอวัยวะส่วนนี้ เพราะต่อมไทรอยด์ส่งผลต่อสุขภาพของเราเป็นอย่างมาก เพราะความผิดปกติของร่างกายหลายอย่าง ล้วนแต่เกิดจากต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้หลายคนอาจสงสัยว่า ต่อมนี้อยู่ส่วนไหนของร่างกาย วันนี้เราจึงมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ และ โรคไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) มาฝากกัน ต่อมไทรอยด์ คืออะไร? ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีลักษณะเหมือนกับผีเสื้อ จะอยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมาประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่อะไร? ต่อมไทรอยด์ จะมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมน โดยอาศัยไอโอดีนจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นวัตถุดิบในการใช้สร้างฮอร์โมน ต่อมไทรอยด์ ยังทำหน้าที่ในการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาสู่กระแสเลือด เพื่อควบคุมระดับการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด อีกทั้งยังช่วยควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง ช่วยทำให้อารมณ์ความรู้สึกเป็นไปในทางที่เหมาะสม ความสำคัญของไอโอดีน ไอโอดีนเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายของเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ถ้าหาก ร่างกายขาดไอโอดีนจะทำให้ ทารกที่อยู่ในครรภ์มีความผิดปกติทางสมอง ทำให้กลายเป็นโรคไทรอยด์ไปเลย ดังนั้นหากไม่อยากทำให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็ควรได้รับสารไอโดดีนให้กับร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ใหญ่ควรได้รับไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับไอโอดีน 175 ไมโครกรัม สำหรับหญิงให้นมบุตรควรได้รับไอโอดีน 200 ไมโครกรัมต่อวัน […]

kaewsai

October 14, 2017

มะเร็งต่อมไทรอยด์ โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม !

เราคงพอจะรู้กันอยู่แล้ว ว่าโรคที่เกี่ยวกับ ฮอร์โมนไทรอยด์ ค่อนข้างมีความน่ากลัวพอสมควร เพราะอาจถึงขั้นมีการพัฒนา เป็นโรค มะเร็งไทรอยด์ ที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งก่อนอื่นนั้น เราต้องขอแนะนำให้รู้จักกับ ต่อมไทรอยด์ กันก่อน โดยต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง ที่อยู่ด้านหน้าลำคอทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนออกมา เพื่อระบบการเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการควบคุมระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกอีกด้วย เพราะฉะนั้นหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับต่อมไทรอยด์ ร่างกายก็จะมีความผิดปกติเกิดขึ้นทันที มะเร็งไทรอยด์ คืออะไร? โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid Cancer) ก็มีลักษณะคล้ายกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ คือ มีการเจริญเติบโตของเซลล์ที่แบ่งตัวผิดปกติ ไปเป็นเนื้อร้ายในต่อมไทรอยด์ อาจเกิดขึ้นได้ทั้งข้างซ้ายและข้างขวา บางรายที่มีอาการหนักมากอาจจะเกิดได้แบบเชื่อมกัน ระหว่างต่อมไทรอยด์ทั้งสองข้าง ส่วนมากมักจะพบในเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปีขึ้นไป แต่ข้อดีก็คือ สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นมะเร็งชนิดนี้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว สาเหตุของโรคมะเร็งไทรอยด์ ก็อย่างที่บอกกันไปข้างต้น ว่ามะเร็งไทรอยด์ก็คล้าย ๆ กับมะเร็งชนิดอื่น เพราะเกิดจากเซลล์ที่มีการแบ่งตัวผิดปกติ จนมีการพัฒนาเป็นก้อนเนื้อร้าย จึงทำให้แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีสาเหตุเกิดมาจากอะไรโดยแท้จริง แต่ก็พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ อย่างที่ทำให้สามารถเกิดโรคนี้ได้ มาดูกันว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง? กรรมพันธุ์ […]

kaewsai

October 10, 2017

เหนื่อยง่ายผิดปกติ เสี่ยงภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ภัยเงียบที่ควรรีบรักษาก่อนสาย !

ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยและมักจะกลายเป็นปัญหาชีวิต คือโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบไทรอยด์ นอกเหนือจากโรคไทรอยด์เป็นพิษที่เรามักจะเห็นกันได้บ่อยแล้ว ยังมี ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน หรือ โรคพร่องไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์จะมีการทำงานน้อยลง ส่งผลกระทบต่อทุกส่วนของร่างกาย ตามมาด้วยอาการไม่สบายต่างๆ ซึ่งด้วยภาวะนี้ เป็นผลกระทบในระยะยาวที่ต้องใช้เวลานานในการรักษา ลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่า เราจะสามารถแก้ไขโรคนี้ให้หายและกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ โดยที่โรคจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่ ทำความเข้าใจกับภาวะพร่องไทรอยด์ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยลง จนทำให้เกิดการพร่อง เราเรียกกันว่า ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism) ทำให้ร่างกายเกิดการขาดไทรอยด์ฮอร์โมนที่ส่งมาจากต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบของต่อมไร้ท่อ อยู่ด้านหน้าของลำคอ ต่อจากลูกกระเดือกและกระดูกอ่อนไทรอยด์ รูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อสองกลีบใหญ่ เชื่อมต่อกันด้วยเนื้อเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า อิสธ์มัส (Isthmus) การเกิดภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ในทางการแพทย์รู้จักกันในชื่อว่า ภาวะไฮโปไทรอยด์ดิซึม มีต้นตอมาจากการที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้มากพอเท่ากับความต้องการของร่างกาย จากความผิดปกติในการทำงานของต่อมไทรอยด์ นำไปสู่การทำงานที่ผิดปกติในส่วนอื่นของร่างายด้วย โดยลักษณะที่พบของผู้ป่วยคือร่างกายจะมีการทำงานได้ช้าลง เกิดความรู้สึกไม่สบาย เจ็บป่วย โดยจะมีอาการตรงข้ามกับการทำงานของต่อมไทรอยด์ที่มากเกินไป แม้จะเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติสุข และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา สาเหตุการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน สาเหตุของภาวะนี้ เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งการที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนได้เพียงพอนั้น อาจจะมาจากการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์บางส่วนหรือทั้งหมดออกไป การได้รับสารรังสีไอโอดีนเพื่อรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ บางครั้งก็ยังเกิดขึ้นได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมาจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการจากต่อมใต้สมองผิดปกติ […]

admin24

September 9, 2016