โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว คืออะไร ร้ายแรงหรือไม่ ภัยใกล้ตัวที่ต้องรู้ !

โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เป็นสิ่งหนึ่งที่น่ากลัวสำหรับในยุคปัจจุบัน เพราะถ้าหากดูแลตัวเองดีเมื่อเป็นโรคนี้ก็อาจจะไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าหากเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว แต่ไม่ได้ดูแลรักษาตัวเองให้ดี ก็ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น บทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคนี้เพิ่มเติม โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว คืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไร ไปดูกันเลย โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว คืออะไร? โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anemia) หรือจะเรียกสั้นๆ ว่า SCA โดยโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง จึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดและภาวะแทรกซ้อนได้ สำหรับโรคนี้จะเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านพันธุกรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับยีนส์ที่จะช่วยเรื่องของการสร้างฮีโมโกลบินนั่นเอง สาเหตุของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว อย่างที่บอกไปว่าเกิดจากความผิดปกติที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม เนื่องจากร่างกายมีการผลิตฮีโมโกลบินที่มีลักษณะผิดปกติออกมา ซึ่งเรียกว่า ฮีโมโกลบิน S ที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเซลล์เม็ดเลือดแดงให้กลายเป็นรูปเคียว ซึ่งครั้งนี้ความอันตรายอยู่ตรงที่ว่า เซลล์เม็ดเลือดแดงรูปเคียวนั้นจะสามารถแข็งตัวได้ง่าย ซึ่งสามารถเข้าไปอุดตันการไหลเวียนของเลือดตามบริเวณต่างๆ ได้มากพอสมควร แต่สำหรับเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะมีช่วงอายุสั้นกว่าเม็ดเลือดแดงรูปแบบปกติ เพราะฉะนั้น จึงทำให้สามารถสลายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทำให้เกิดปัญหาเม็ดเลือดแดงมีจำนวนที่ลดน้อยลงผิดปกติ อาการของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว อาการหลักของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวคือ อาการปวด หรือเรียกว่า ภาวะ sickle cell crises โดยอาการปวดนั้น จะเป็นจากสาเหตุของการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงรูปเคียว ไปอุดตันการไหลเวียนของเลือดบริเวณอวัยวะต่างๆ และหลังจากที่มีการปวดก็อาจจะมีอาการบวมขึ้นอย่างฉับพลัน […]

kaewsai

March 1, 2018

ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม ภัยเงียบที่ส่งผ่านกันไม่รู้ตัว

ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ไม่ใช่โรคที่จะสามารถพบเจอได้บ่อยๆ สำหรับคนไทย แต่ทั้งนี้ก็มีความอันตรายไม่แพ้กัน แน่นอนว่าเมื่อโรคนี้ไม่ใช่โรคที่จะพบได้บ่อยก็ย่อมทำให้บางคนอาจจะไม่รู้จักโรคนี้ดีสักเท่าไหร่ แต่ก็เป็นเรื่องควรที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ วันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับโรคนี้มากขึ้น ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม คืออะไร อันตรายไหม รักษาได้หรือไม่? ไปดูกันเลย ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม คืออะไร? ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม (Hereditary Spherocytosis) หรือจะเรียกว่า HS เป็นภาวะความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงทางพันธุกรรม ที่ส่งผลต่อโครงสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้มีรูปแบบที่ผิดปกติไปมากกว่าเดิม โดยเกิดจากยีนส์ที่เป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิด เพราะมีการสืบทอดจากพ่อแม่ สาเหตุของภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าในส่วนของภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม เป็นความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่มีโครงสร้างเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากว่าเมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติจากทางพันธุกรรม ทำให้ร่างกายไม่สามารถที่จะผลิตโปรตีนแองไคริน(ankyrin) ออกมาได้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้น เมื่อโปรตีนโครงสร้างของเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกผลิตออกมาไม่เพียงพอ จึงทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอตามไปด้วย แต่สิ่งที่อยู่ภายในยังมีปริมาณเท่าเดิม จึงทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความป่องมากผิดปกติ การติดต่อของภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม ภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม เป็นโรคที่เกิดจากการส่งต่อผ่านยีนทางพันธุกรรม โดยร้อยละ 75 เป็นการส่งต่อของพ่อแม่ที่เป็นพาหะ หรือเป็นอยู่แล้วมาถึงลูก อย่างไรก็ตามก็ยังสามารถที่จะส่งผ่านระหว่างพี่น้องได้ถึงร้อยละ 50 และไม่ไม่เพียงเท่านั้น … สำหรับการเป็นภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรมร้อยละ 25 สามารถที่จะเกิดได้จากการกลายพันธุ์(mutation) ของยีนส์ หรืออาจจะไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน แต่ก็จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โครงสร้างผนังเซลล์เม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติขึ้นได้ อาการของภาวะเม็ดเลือดแดงป่องพันธุกรรม […]

kaewsai

February 28, 2018

โรคเลือดข้น หรือภาวะเลือดหนืด ปัญหาร้ายแรงที่ต้องรีบแก้ไข !

ภาวะเลือดข้น ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องธรรมดาทั่วไปเสียแล้ว เพราะภาวะเช่นนี้สามารถกลายสภาพเป็น “โรคเลือดหนืด” (Polycythemia vera ย่อว่า PV) มีสาเหตุมาจากปริมาณของเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไป เป็นภาวะเม็ดเลือดแดงข้นปฐมภูมิ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อีกทั้งยังเป็นสัญญาณเตือนบอกถึงความผิดปกติของระบบภายในร่างกาย ซึ่งการสังเกตดูว่าภาวะเลือดข้นเหล่านี้อาจจะมาจากหลายสาเหตุรวมกัน กล่าวคือ อาจมาจากโรคประจำตัว การดำเนินชีวิตประจำวัน ทางที่ดีเมื่อพบว่าตัวเองมีปัญหานี้เกิดขึ้น สาวๆ ควรขอเข้ารับการตรวจสุขภาพสักหน่อย จะได้ป้องกันความรุนแรงไม่ให้โรคนี้ลุกลามจนทำลายสุขภาพจนสายเกินแก้เอาได้ค่ะ อาการของโรคเลือดข้นหนืด สำหรับอาการที่พบโดยทั่วไป ในระยะแรกเริ่มจะไม่ปรากฏอาการที่รุนแรงมากนัก มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ เวียนหัว คันตามผิวหนัง โดยเฉพาะเมื่อต้องสัมผัสกับน้ำอุ่น ผิวหนังเป็นสีแดงเข้มขึ้น เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม โดยเฉพาะเวลานอนคว่ำ รู้สึกชา แสบร้อน และไม่มีเรี่ยวแรงบริเวณแขน ขา มือและเท้า เจ็บแน่นบริเวณหน้าอกและชายโครงซ้ายที่เกิดขึ้นจากภาวะม้ามโต สาเหตุของการเกิดโรคเลือดข้น หนืด สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคเลือดข้นนั้น มักจะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับสารพันธุกรรมหรือโครโมโซม แพทย์จึงยังไม่ทราบสาเหตุที่จะสามารถระบุได้แน่ชัด อีกทั้งยังไม่พบปัจจัยอันเป็นตัวกระตุ้นโดยตรงของโรคนี้อีกด้วย แต่เชื่อว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมาจากกไกลที่เป็นตัวควบคุมเม็ดเลือดแดงเสียไป จากปกติที่เม็ดเลือดแดง จะมีขั้นตอนการควบคุมปริมาณเซลล์ให้เกิดความสมดุล การสร้างปริมาณเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติ มาจากไขกระดูก เม็ดเลือดแดงจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น กลายเป็นภาวะเลือดข้นตามมา นอกจากนี้ ยังพบความผิดปกติที่ลึกลงไปในระดับยีน อันเป็นหน่วยถ่ายทอดรหัสทางพันธุกรรมของเซลล์ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า […]

admin24

August 1, 2016

ภาวะโรคความดันโลหิตต่ํา หรือ ความดันต่ํา มีวิธีรักษา และป้องกัน อย่างไร?

เชื่อว่า คนส่วนมากที่มีปัญหาสุขภาพมักจะรู้จักกับ โรคความดันโลหิตสูง กันมากกว่า โรคความดันต่ํา (Hypertension) ที่จัดได้ว่า เป็นหนึ่งในโรคที่สร้างผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของสาวๆ ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจาก อันตรายของโรคนี้มีน้อยกว่า จึงทำให้ผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจและมองข้าม ด้วยการไม่ยอมดูแลตัวเองหรือสังเกตอาการที่เกิดขึ้น ปล่อยปละละเลย จนส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงแบบคาดไม่ถึงตามมา พร้อมที่จะทำลายคุณภาพชีวิตของสาวๆ ได้ไม่น้อยไปกว่าโรคความดันโลหิตสูงเลยล่ะค่ะ ภาวะโรคความดันโลหิตต่ำ คืออะไร ? โรคความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) เป็นโรคที่จะมีภาวะความดันเลือด ตรงข้ามกับโรคความดันโลหิตสูง ความดันที่ตรวจพบจะมีค่าต่ำกว่า 90/50 มิลลิเมตรปรอท โดยลักษณะของความดันที่ตรวจพบ อาจพบว่า ต่ำได้ทั้งค่าด้านหน้าและด้านหลังพร้อมกัน หรือเกิดภาวะความดันต่ำในค่าใดค่าหนึ่งก็ได้ สำหรับการตรวจพบ แพทย์จะไม่จัดกลุ่มอาการนี้เป็นโรคแต่อย่างใด เพียงแต่ให้เป็นภาวะหนึ่ง ที่มีทั้งส่งผลกระทบต่อร่างกาย และอาจไม่ส่งผลใดๆ เลยก็เป็นได้ ด้วยเหตุที่ความดันโลหิตต่ำ มักจะเป็นความเชื่อว่ามันเป็นค่าที่ดีกว่าความดันโลหิตสูง เราจึงไม่ค่อยให้ความสนใจกับมันนัก ทว่าภาวะที่ความดันต่ำมากๆ จะส่งผลกระทบ ทำให้เลือดในระบบร่างกายไหลเวียนได้ช้าลง ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้เพียงพอ เกิดเป็นลิ่มเลือดที่เสี่ยงต่อการเข้าไปอุดตันภายในหลอดเลือดที่เป็นอันตรายร้ายแรงตามมา สาเหตุของภาวะโรคความดันโลหิตต่ํา สาเหตุของโรคความดันโลหิตต่ำ เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งมักพบได้ตั้งแต่การไหลเวียนของเลือด ของเหลวในร่างกายช้าลง ส่งผลให้เลือดเคลื่อนตัวเข้าสู่หัวใจน้อยลง กระทบต่อผลของการบีบตัวของหัวใจลดลงตามมา จึงเกิดเป็นภาวะความดันโลหิตต่ำ อาจมีตัวกระตุ้นเป็นภาวะขาดน้ำ […]

admin24

May 11, 2016