ต่อมน้ําลายอักเสบ มีอาการ สาเหตุและการรักษาอย่างไรบ้าง?

ต่อมน้ําลายอักเสบ อาการ สาเหตุ

ต่อมน้ําลาย (ภาษาอังกฤษ: Inflammatory salivary glands) คือส่วนของต่อมที่ใช้สำหรับสร้างน้ําลายทำให้ภายในช่องปากเกิดความชุ่มชื้น และยังเป็นตัวช่วยให้การเคี้ยวอาหารสะดวก ช่วยคลุกเคล้าอาหารและช่วยย่อยไปในตัว

ตามปกติต่อมน้ําลาย จะมีการสร้างปริมาณน้ําลายออกมาในสัดส่วนที่เพียงพอกับการนำไปใช้ ตำแหน่งของต่อมชนิดนี้พบได้ที่

กกหู (Parotid gland) จะสร้างน้ําลายแบบใส, ขากรรไกรล่าง (Submaxillary gland หรือ Submandibular gland) จะสร้างน้ําลายทั้งชนิดเหนียวและใส

เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สร้างน้ําลายมากที่สุด และสุดท้ายคือใต้ลิ้น (Sublingual gland) จะสร้างน้ําลายชนิดเหนียวมากกว่าชนิดใส

แต่ในกรณีที่เกิดโรคต่อมน้ําลายอักเสบ จะทำให้การผลิตน้ําลายผิดปกติ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการอักเสบ ตำแหน่งที่เกิดขึ้น และระดับความรุนแรงของผู้ป่วย ที่การอักเสบอาจแปรสภาพไปเป็นมะเร็งได้เลยทีเดียวค่ะ

ลักษณะของต่อมน้ําลายอักเสบ

  • โรคต่อมน้ําลายอักเสบ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคคางทูม ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มาจากเชื้อไวรัส

ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง แต่เกิดการอักเสบของต่อมน้ําลายตามมา รวมถึงภาวะอื่นๆ สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางเสมหะและน้ําลาย

  • การเกิดเนื้องอกขอต่อมน้ําลาย ที่จะแสดงตัวด้วยอาการต่อมน้ําลายอักเสบ

เนื่องจากการอุดตันของทางเดินน้ําลาย ทำให้ตรวจพบก้อนที่อยู่ภายใน หรือการคลำพบโดยบังเอิญ

  • การอักเสบของต่อมน้ําลาย จะพบได้มากที่บริเวณต่อมน้ําลายข้างหู ที่เรียกกันว่า “โรคคางทูม”

พบได้ทั้งในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี ส่วนในผู้ใหญ่จะพบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

  • การอักเสบมาจากเชื้อไวรัสคางทูมที่อยู่ในน้ําลายและเสมหะของผู้ป่วย มีการติดต่อกันผ่านการไอ จาม หายใจรดกัน

หรือการสัมผัสมือที่ปนเปื้อนน้ําลาย โดยมีระยะในการฟักตัวอยู่ที่ 14-20 วัน ก่อนจะเริ่มแสดงอาการให้เห็น

  • เนื้องอกต่อมน้ําลายที่มีการอักเสบ และก่อตัวเป็นมะเร็งหรือชนิดที่เป็นเนื้อร้าย

พบว่าต่อมน้ําลายที่มีขนาดเล็กจะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่า กล่าวคือต่อมน้ําลายที่โคนลิ้นซึ่งเป็นต่อมเล็กสุด

จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งได้มากถึงร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับต่อมอื่นๆ หากเกิดการอักเสบ

รองลงมาจะเป็นต่อมน้ําลายที่ขากรรไกร และต่อมน้ําลายหน้าหูที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด

ต่อมน้ําลายอักเสบ อาการ เป็นอย่างไร ?

ต่อมน้ําลายอักเสบ ส่วนมากที่เกิดขึ้นในผู้ใหญ่ หากไม่ได้มาจากเนื้องอกหรือโรคมะเร็ง

ก็มักไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่อาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์จะเป็นอาการที่เกิดต่อมน้ําลายหน้าหูอักเสบ

ที่อาจเป็นผู้ป่วยเดิม กลับมาเป็นซ้ำใหม่อีกครั้ง อาการจากโรค Sjogren’s syndrome

อาการในผู้ใหญ่จะแตกต่างจากในเด็ก คือมีอาการติดเชื้อร่วมด้วย ต่อมน้ําลายอักเสบอาการที่พบคือการทำงานของท่อน้ําลายที่ผิดปกติ

การติดเชื้อจะย้อนขึ้นไปสู่ต่อมน้ําลาย ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ด้วยอาการเจ็บปวดบริเวณแก้ม บวมแดง

บริเวณคางบวม อ้าปากไม่ขึ้น เคี้ยวอาหารลำบาก เจ็บกระพุ้งแก้ม และอาจมีไข้สูงร่วมด้วยในบางราย

ซึ่งหากรุนแรงผู้ป่วยจะไม่สามารถอ้าปากกินอาหารได้ ตรวจพบผลเลือดผิดปกติ และมีไข้สูงอยู่ตลอดเวลา

หากอาการรุนแรงถึงระดับนี้ จะต้องรีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์โดยด่วนที่สุด

ต่อมน้ําลายอักเสบเรื้อรัง

ลักษณะของต่อมน้ําลายอักเสบเรื้อรัง หรือการบวมของต่อมน้ําลายแบบไม่ยอมหายไปซักที

ซึ่งอาการเหล่านี้ควรเข้ารับการตรวจ ซักประวัติ สอบถามอาการ รวมถึงการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์

เพราะการบวมที่เกิดขึ้นมาได้จากต่อมน้ำเหลืองและส่วนของต่อมน้ําลาย อาจเป็นการอุดตันจากเนื้องอก

หรือเป็นนิ่วในทางเดินน้ําลายที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกันกับนิ่วในทางเดินปัสสาวะนั่นเอง และหากเกิดจากนิ่ว

จะเกิดขึ้นที่ต่อมน้ําลายใต้ขากรรไกลมากที่สุด ผู้ป่วยเข้ามาพบแพทย์ด้วยอาการบวมใต้คางแบบเป็นๆ หายๆ

ที่ทำให้ต่อมน้ําลายอักเสบเรื้อรัง เป็นการอุดตันของท่อน้ําลาย จะมีปัญหาเป็นอย่างมากในช่วงที่รับประทานอาหาร

เกิดการคั่งค้างของน้ําลาย เนื่องจากไม่สามารถไหลออกมาคลุกเคล้ากับอาหารขณะเคี้ยวได้

เมื่อเป็นมากเข้าก็ทำให้เกิดอาการปวด ติดเชื้อแทรกซ้อนขึ้นมาเป็นการอักเสบ และเป็นฝีกันเลยทีเดียว

ต่อมน้ําลายอักเสบรักษาด้วยวิธีไหนบ้าง ?

การรักษาต่อมน้ําลายอักเสบ จะต้องรักษาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น ได้แก่

  • ต่อมน้ําลายอักเสบจากนิ่ว

นิ่วที่เกิดขึ้นบริเวณทางเดินต่อมน้ําลาย ที่พบได้มากตรงต่อมใต้ขากรรไกร

ผู้ป่วยจะต้องาการรักษาที่ส่วนปลายทางเดินน้ําลาย ด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้น หากมีอาการรุนแรง

แพทย์จะพิจารณาด้วยการผ่าตัด เพื่อเปิดช่องทางของต่อมน้ําลายให้กว้างขึ้น ลดการอุดตันของน้ําลาย

เป็นการผ่าตัดที่ให้ผลดี เพียงแค่ฉีดยาชาเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการผ่าเท่านั้น ภายหลังเสร็จสิ้นแล้ว

ผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้น แต่ต้องคอยระมัดระวัง เพราะนิ่วอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

แต่หากต้องการให้นิ่วหายไปอย่างถาวร สามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดเอาต่อมน้ําลายข้างที่เป็นนิ่วออกไปเลย

แพทย์จะใช้การดมยาสลบก่อนผ่าตัด มีการพักฟื้นดูอาการอย่างน้อย 2 วัน บาดแผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร

อยู่บริเวณใต้ขากรรไกร ซึ่งการผ่าแม้จะช่วยให้นิ่วหายไปอย่างถาวร

ทว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทบริเวณมุมปาก ที่อาจทำให้ผู้ป่วยปากเบี้ยวขณะยิ้ม หรือการห้อปากเข้ามา ดูไม่เป็นธรรมชาติ

  •  ต่อมน้ําลายอักเสบจากโรคมะเร็ง

ถือว่าเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระดับรุนแรงเป็นอย่างมาก หากพบอาการบวมบริเวณหน้าหู

มีอาการร้อนวูบวาบ บวมแดง เจ็บปวดอย่างมาก และอาจมีหนองอยู่ภายใน มักพบว่าเป็นการอักเสบข้างเดียว

เมื่อตรวจพบจะมีก้อนเนื้องอกเกิดขึ้น ซึ่งแพทย์จะนำเอาเนื้อเยื่อไปตรวจว่าเป็นเนื้องอกที่ก่อตัวเป็นมะเร็งหรือไม่

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ําลาย ขนาดของก้อนเนื้องอกจะขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

โดยในช่วงแรกไม่มีอาการใดๆ ปรากฏขึ้นมา และอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการต่อมน้ําลายอักเสบ

ซึ่งระยะของโรคะเร็งต่อมน้ําลายจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน ดังนี้

                ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ก้อนมะเร็งยังมีขนาดเล็ก เซลล์มะเร็งอาศัยอยู่แค่ในต่อมน้ําลายเท่านั้น อาการไม่รุนแรงหรือแทบไม่มีอาการในบางราย

                ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น ลุกลามมากขึ้นภายในต่อมน้ําลาย แต่ยังไม่แพร่กระจายออกมาด้านนอก

                ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีขนาดใหญ่มาก มีการลุกลามเข้าสู่เนื้อเยื่อข้างเคียง โดยเฉพาะต่อมน้ำเหลืองที่คอ

                ระยะที่ 4 มะเร็งจากต่อมน้ําลาย ลุกลามเข้าสู่อวัยวะข้างเคียงมากขึ้น ต่อมน้ำเหลืองที่คอมีนขนาดโตบวม จนลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองในจุดอื่น แพร่เข้าสู่กระแสเลือด และอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เป็นระยะของโรคที่มีความรุนแรงและยากต่อการรักษา

ในขั้นตอนของการรักษา แพทย์จะแบ่งออกเป็น 3 วิธีด้วยกัน คือ

  • การผ่าตัด
  • การฉายรังสี
  • การทำเคมีบำบัด

การผ่าตัดและการฉายรังสี ขั้นตอนหลังจากตัดก้อนมะเร็งออกไปแล้ว

ก็จะทำการตรวจดูลักษณะของก้อนมะเร็งว่าจำเป็นต้องฉายรังสีต่อเนื่องด้วยหรือไม่

การผ่าตัดคือการรักษาหลักที่จำเป็นต้องทำ เพื่อไม่ให้เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังตำแหน่งอื่น

ดุลยพินิจของแพทย์ที่จะฉายรังสีให้กับผู้ป่วย ต่อเมื่อชนิดของเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมาก

มะเร็งลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นอีกภายหลังการผ่าตดแล้ว

มะเร็งลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือมีบางส่วนที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด

ในส่วนของการใช้เคมีบำบัด จะใช้กรณีที่โรคมีการแพร่กระจาย แพทย์จะพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่เป็นบุคคลๆ ไป

  • ต่อมน้ําลายอักเสบจากเนื้องอก

ต่อมน้ําลายอักเสบจากเนื้องอกชนิดที่ไม่ได้เป็นเนื้อร้าย หรือโรคมะเร็ง ปกติหากพบก้อนเนื้อเกิดขึ้น

แพทย์ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดออกเพื่อช่วยให้การรักษาได้ประสิทธิภาพสูงสุด

อีกทั้งยังมีการนำเอาเนื้อเยื่อมาตรวจเพื่อหาเชื้อมะเร็งด้วยเพื่อความมั่นใจว่าเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา

การผ่าตัดส่วนใหญ่ จะเป็นเนื้องอกที่ต่อมน้ําลายหน้าหู วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดจะมีแผลค่อนข้างยาว

แพทย์จำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียด มองหาเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้าเก็บเอาไว้

ไม่ให้เกิดอันตรายในระหว่างทำการผ่าตัด มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดความผิดปกติต่อกล้ามเนื้อในการแสดงอารมณ์ของใบหน้า

การปิดตาไม่สนิท หรือปากเบี้ยว บางครั้งหากผิดพลาดจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวราว 1-2 เดือน

แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นถาวรได้ ดังนั้นการผ่าตัดจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

หากเป็นเนื้องอกที่เกิดขึ้นบริเวณใต้ขากรรไกร ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดเช่นเดียวกัน ด้วยการเปิดเนื้อเยื่อที่ขากรรไกรประมาณ 5 เซนติเมตร

เพื่อให้นำเครื่องมือเข้าไปตัดเนื้องอกที่เกิดขึ้นออกได้ โดยแพทย์จะต้องระมัดระวังเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงมุมปากเช่นกัน เนื่องจากเส้นประสาทดังกล่าวจะที่หน้าที่รับความรู้สึกบริเวณลิ้น

ต่อมน้ําลายอักเสบ

Photo Credit : netdoctor.co.uk

จะเห็นได้ว่าลักษณะของต่อมน้ําลายอักเสบ เป็นอาการที่ส่วนมากแล้วจะเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงของโรคอื่นๆ

รวมถึงเนื้องอก ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้สูง ดังนั้นหากพบความผิดปกติ มีอาการบวมที่ใบหน้า

เจ็บปวด และแสบร้อน ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์ดีที่สุด จะได้รีบทำการรักษาได้ทัน ในขณะที่โรคยังมีขนาดเล็กอยู่นั่นเองค่ะ