อาการหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ทั่วท้อง รู้สึกเหนื่อยง่าย สัญญาณอันตรายบอกโรค!

หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย หาวบ่อย, หายใจไม่อิ่ม จุกที่คอ, หายใจไม่อิ่ม แน่นอก, หายใจไม่อิ่ม แน่นท้อง, หายใจไม่อิ่ม ภาษาอังกฤษ, อาการหายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย

อาการหายใจไม่อิ่ม (ภาษาอังกฤษ – Dyspnea) รู้สึกเหนื่อยหอบง่าย หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่เต็มปอด หรือหายใจไม่สุด จนทำให้ต้องฝืนตัวเองหายใจจนเหนื่อย แน่นอก หรือจุกอยู่ที่คอ

แถมยังมีภาวะหายใจสั้น เกิดการกลั้นหายใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แบบไม่รู้ตัว รู้สึกเหมือนว่าตัวเองหายใจผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากอาการหวัด หรือการอุดตันของโพรงจมูก

แต่เป็นภาวะที่รู้สึกหายใจลำบาก อันเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของลมหายใจเข้าออกของเรานี่เอง กลายเป็นอาการที่เรามักเรียกกันว่า  “หายใจไม่อิ่ม

หากเป็นบ่อยๆ อาจจะไม่ใช่ความผิดปกติธรรมดาเสียแล้ว เพราะนี่สามารถกลายเป็น สัญญาณเตือนของโรคร้ายอย่าง โรคหัวใจ โรคปอด และความผิดปกติของอวัยวะภายใน

แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักไม่ได้มาจากโรค ทว่าก็มีอาการที่เกี่ยวเนื่องกับโรคได้ไม่น้อย ดังนั้นหากเกิดอาการหายใจไม่อิ่ม หอบเหนื่อย หายใจไม่ทั่วท้อง

ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพื่อจะช่วยป้องกันความรุนแรงของโรคที่อาจนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตก็เป็นได้ค่ะ

อาการหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ทั่วท้อง ที่พบได้บ่อย

อาการหายใจไม่อิ่ม มักจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ใจสั่น ซึ่งเป็นอาการร่วมกับกับภาวะนี้

อาจมีการถอนหายใจแบบลึกๆ ด้วยความอึดอัดเป็นครั้งคราว มีอาการหาวบ่อย แต่ไม่รู้สึกง่วง

จนทำให้รู้สึกเวียนศีรษะ มึนงง และสับสน ตามมา เป็นได้ทั้งช่วงเวลากลางวันและเวลานอน ที่ยิ่งทำให้นอนหลับได้ยากขึ้นด้วย

อาการหายใจไม่อิ่ม มีลักษณะเป็นอย่างไร ?

อาการที่พบไม่ใช่โรคที่เป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่อาจได้รับผลกระทบมาจากโรคก็เป็นได้

ซึ่งแพทย์เชื่อว่า มาจากการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอสำหรับนำไปใช้งาน

โดยสังเกตว่า ในระหว่างหายใจแบบสบายๆ ช่วงที่ร่างกายไม่ได้ถูกเคลื่อนไหวใช้งาน ในเวลา 60 วินาที

ตามปกติคนทั่วไปจะต้องหายใจไม่เกิน 28 ครั้ง แต่ถ้าหายใจเร็วไปมากกว่านี้ ถือว่าระบบการหายใจกำลังมีปัญหา

ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงระบบหลอดเลือดหัวใจ การทำงานของหัวใจ ปอด และกระบังลม

แต่กระนั้นบางคนที่หายใจเกินกว่า 28 ครั้ง แต่มีอาการทางกายปกติดี ไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น

ก็ถือว่าเป็นสภาพความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากจิตใจเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความเครียด

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ความโกรธ และกดดัน เพียงแค่พักผ่อน ทำให้จิตใจผ่อนคลาย ก็สามารถกลับมาหายเป็นปกติได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์แต่อย่างใด

สาเหตุที่พบได้บ่อยจนทำให้เกิด อาการหายใจไม่อิ่ม

สาเหตุที่มักไม่ได้เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางกาย ให้สังเกตอาการหายใจไม่อิ่มจนทำให้หอบเหนื่อย

ว่ามาจากขณะนั่งเฉยๆ หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน รวมไปถึงตรวจสอบสภาพจิตใจของตัวเอง

แต่พื้นฐานแล้วจะมาจากความวิตกกังวล ความกลัวต่อโรคร้ายแรง หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้สนใจก็จะกลับมาหายได้เอง

อาการนี้จึงจะเกิดขึ้นเพียงครั้งคราว และไม่ได้มีอันตรายใดๆ แต่หากมาจากสาเหตุของโรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ และโรคปอด

อาการบ่งชี้ที่จะส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาได้ง่ายคือ เหนื่อยง่าย แม้เดินเฉยๆ หรือนั่งๆ นอนๆ ก็รู้สึกหอบเหนื่อย

หลับแล้วสะดุ้งตื่นขึ้นมาหอบเหนื่อยกลางดึก ไอมาก บวมตามเท้าและขา เหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์โดยด่วนที่สุด

การตรวจหาสาเหตุของ อาการหายใจไม่อิ่ม ที่เกิดขึ้น

หากรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น ควรเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่่อความมั่นใจ ซึ่งการตรวจจะมีตั้งแต่ซักประวัติ ตรวจร่างกายพื้นฐาน ตรวจการทำงานของไต ตับ หัวใจ ต่อมไธรอยด์ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

เอกซเรย์ทรวงอกเพื่อหาความผิดปกติ และตรวจประสิทธิภาพการทำงานของปอด ซึ่งทั้งหมดนี้ จะช่วยทำให้ทราบถึงอาการหายใจไม่อิ่ม จนนำมาซึ่งภาวะหอบเหนื่อยได้

กรณีที่ไม่ตรวจพบความผิดปกติทางกาย แพทย์จะทำการตรวจหาอาการที่ไม่ได้เกิดจากโรค

ซึ่งจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย มีสาเหตุหลักๆ มาจากการขาดการออกกำลังกาย

นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ มีเรื่องให้เครียดและกังวลมาก จนทำให้หายใจได้ไม่เต็มอิ่ม

โดยแพทย์จะให้ฝึกการหายใจใหม่ คือพยายามหายใจลึกๆ 3-5 ครั้งอย่างช้าๆ แล้วสังเกตว่า ตัวเองรู้สึกสบายมากขึ้นไหม

แก้ไขพฤติกรรมชอบถอนหายใจบ่อยๆ ที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่รู้สึกตัว จนทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนหายใจไม่อิ่มตามมา

หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่สุด

Photo Credit : justhealthlifestyle.com

กรณีที่มีอาการรุนแรง อาจจะให้ยาคลายเครียดแบบอ่อน พร้อมกับสังเกตอาการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ

ซึ่งผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือ จึงจะช่วยให้อาการดังกล่าวหายไปได้ แต่หากเป็นความผิดปกติที่มาจากโรค

ก็จะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้โรคเหล่านั้นกำเริบขึ้นมาจนเป็นอันตรายต่อชีวิต