ตาแพ้แสง สู้แสงไม่ได้ ปวดหัว แสบตา เชื่อว่าหลายคนย่อมเคยมี อาการเกี่ยวกับสุขภาพดวงตาแบบนี้กันอย่างแน่นอน
ว่าแต่เมื่อเกิดอาการลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้น เราควรทำอย่างไร สามารถรักษาอย่างไรได้บ้าง และการเลือกใช้แว่นตาเพื่อปกป้องแสงและถนอมสายตาควรเลือกแบบไหน
วันนี้เรามีสาระดีๆ เกี่ยวกับปัญหาดวงตาเหล่านี้มาฝาก พร้อมวิธีการดูแลถนอมสุขภาพตา เป็นอย่างไรบ้างนั้น รีบไปติดตามกันเลย
ดวงตาแพ้แสง เป็นอย่างไร?
ดวงตาแพ้แสง Photophobia (Light Sensitivity) เป็นภาวะความผิดปกติของดวงตา ไม่ใช่โรค และมีอาการไม่รุนแรงมาก แต่ก็ทำให้หงุดหงิด
และสร้างความรำคาญให้ในชีวิตประจำวัน โดยขณะตามองแสงที่มีความสว่างในขนาดที่คนปกติไม่ได้รู้สึกอะไร
แต่กลับมีอาการเคืองตา แสบตา ปวดตา รู้สึกระคายเคืองที่บริเวณหัวตา หรือมีน้ำตาไหลเมื่อมีลมปะทะดวงตา
สาเหตุของการเกิดดวงตาแพ้แสง
ดวงตาแพ้แสง เกิดจากความผิดปกติของดวงตาส่วนหน้า ซึ่งประกอบด้วย ผิวตา กระจกตา ตาขาว ม่านตา เป็นต้น
ส่งผลให้เกิดอาการที่สร้างความรำคาญ และลำบากให้กับดวงตา อย่างเช่น
อาการตาแห้ง ซึ่งเป็นความผิดปกติของน้ำตากับผิวหน้าดวงตา ส่งผลให้ความคงตัวของน้ำตาผิดปกติ
น้ำตามีความเข้มข้นมากขึ้น ทำให้ผิวตาถูกทำลาย ถือเป็นสาเหตุที่พบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง
คนที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานเกินไป และผู้ทำงานหน้าจอต่อเนื่องเป็นเวลานาน
ซึ่งแสงกับรังสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรศัพท์มือถือมีส่วนในการทำร้ายดวงตาสะสม
นอกจากนี้ ดวงตาแพ้แสงยังเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่นอากาศแห้ง อากาศร้อน กับควันบุหรี่
ความผิดปกติของกระจกตา กระจกตาหรือตาดำของคนเราจะอยู่ส่วนหน้าสุด ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญเกี่ยวกับการมองเห็น
และมีเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก จึงไวต่อความรู้สึกอย่างมาก ความผิดปกติแค่เล็กน้อยจะก่อให้เกิดอาการแพ้แสง
กับอาการเจ็บระคายเคืองได้มาก ซึ่งความผิดปกติของกระจกตา ที่เป็นสาเหตุของดวงตาแพ้แสง มีดังนี้
– แผลจุดเล็ก ๆ ที่ผิวกระจกตา อาจเกิดจากรังสียูวี พบในช่างอ๊อกเหล็กที่ไม่สวมแว่นกันแสง
– มีเศษผงกับสิ่งแปลกปลอม ติดอยู่บนกระจกตา
– เกิดการอักเสบติดเชื้อของกระจกตา
– กระจกตาบวม จากสาเหตุต่าง ๆ อาทิ สารเคมีเข้าตา ต้อหินเฉียบพลัน และการใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไปจนทำให้กระจกตาขาดออกซิเจน เป็นต้น
– ผิวกระจกตาถลอก ซึ่งเป็นการหลุดลอกของผิวกระจกตาที่บางมาก โดยส่วนมากมักจะเกิดจากการถอดคอนแทคเลนส์ที่ผิดพลาด
เกิดจากอุบัติเหตุถูกใบไม้หรือกิ่งไม้บาดตา หรือเศษผงเข้าตาแล้วเผลอขยี้ตา และมีสารเคมีเข้าตา
ซึ่งภาวะนี้จะก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก ทำให้ดวงตาแพ้แสงอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ดวงตาแพ้แสง ยังเป็นอาการของโรคหลายโรคด้วยกัน อาทิ โรคทางสมอง เช่น เนื้อสมองหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งหากปล่อยอาการดวงตาแพ้แสงโดยไม่ทำการรักษา อาจลุกลามกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้
เมื่อมีอาการดวงตาแพ้แสง ควรทำอย่างไร?
1.หลีกเลี่ยงอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอโทรศัพท์เป็นเวลานาน เพราะการจ้องหน้าจอเป็นเวลาต่อเนื่องนาน ๆ
มักจะก่อให้เกิดภาวะตาแห้ง ซึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุก ๆ 10-15 นาที ควรพักสายตา โดยการมองไกล ๆ สลับกับมองใกล้ ๆ
เพื่อให้ดวงตาได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือจะมองต้นไม้ สิ่งของสีเขียว ก็ช่วยในการผ่อนคลายดวงตา และทำให้รู้สึกสบายตามากขึ้น
2.ใช้น้ำตาเทียมช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในตา
3.พักผ่อนให้เพียงพอ
4.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแสงจ้า และควรใส่แว่นกรองแสง ในขณะที่อยู่กับหน้าจอโทรศัพท์หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะช่วยลดแสงอันตรายสีฟ้า ช่วยลดอาการดวงตาแพ้แสง อาการปวดตา ตามัว ตาพร่า จากแสงหน้าสอ
และเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้า ควรสวมแว่นกันแดด เพื่อช่วยลดแสง
5.หากมีอาการตาไม่สู้แสง ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีขี้ตา น้ำตาไหล ตาแดง ตลอดจนมีคนใกล้เคียงเป็นมาก่อน
อาจตาแดงจากการติดเชื้อไวรัสที่เยื่อบุตา ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาหรืออาจซื้อยาหยอดตาฆ่าเชื้อมาใช้ โดยขอคำปรึกษาจากเภสัชกร
6.หากพบว่ามีอาการดวงตาแพ้แสง และมีอาการตามัว ปวดตัว เป็นภาวะแพ้แสงที่มีความอันตราย ซึ่งมักจะเกิดโรคที่ร้ายแรง ควรรีบเข้าพบแพทย์ในทันที
วิตามินช่วยแก้อาการดวงตาแพ้แสง
วิตามินเอ พบมากในไข่แดง น้ำมันสกัดจากตับปลา นม ตับ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และพืชต่าง ๆ ที่มีส่วนประกอบของแคโรทีน
ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ เช่น ผักใบเขียวจัด สีเหลือง สีแดง สีแสด อย่างฟักทอง แครอท มะม่วง แคนตาลูป
เป็นสารอาหารที่จำเป็นอย่างมากสำหรับคนที่มีปัญหาดวงตาแพ้แสง เพราะวิตามินเอมีผลต่อเซลล์จอตา
ในการแปรสภาพของพลังงานแสงที่ได้รับให้มีผลน้อยลง และช่วยลดอาการเสื่อมของประสาทตาให้น้อยลง
วิตามินซี
พบมากในผักกับผลไม้ เช่น กะหล่ำปลี พริกหยวก มะเขือเทศ บร็อคโคลี่ กีวี่ สตรอว์เบอร์รี ส้ม และแคนตาลูป เป็นต้น
ซึ่งวิตามินซีช่วยในการสร้างคอลลาเจน เป็นโปรตีนที่มีความสำคัญช่วยในการก่อตัวของโครงสร้างอวัยวะต่าง ๆ
โดยเฉพาะเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในตาขาว และวิตามินซียังช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจก
ซึ่งหากร่างกายได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสมในทุก ๆ วัน ก็จะช่วยบำรุง ช่วยแก้ไขอาการดวงตาแพ้แสงและช่วยแก้อาการปวดตา
วิตามินดี
มีส่วนเกี่ยวพันอย่างมาก ในการช่วยดูแล บำรุง และป้องกันไม่ให้เกิดโรคทางสายตาหลายชนิด
ซึ่งวิตามินดีจะได้รับก็ต่อเมื่อร่างกายสัมผัสกับแสงแดด โดยเฉพาะแสงแดดยามเช้า
และพบในอาหารอย่าง ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ไข่ กับนมที่มีการเติมวิตามินดีลงไป
ตาแพ้แสง ควรใช้แว่นอะไรดี?
หากมีอาการตาแพ้แสง ก็สามารถใช้แว่นกันแดดช่วยปกป้องแสงอีกชั้นได้ เพราะแว่นกันแดด
มีคุณสมบัติ ช่วยในการกรองแสงทำให้ดวงตารู้สึกสบายขึ้น และยังช่วยปกป้องดวงตาจากอันตรายแสงจ้า
ดังนั้นเมื่อออกกลางแจ้งควรสวมใส่แว่นกันแดดทุกครั้ง และควรเลือกแว่นกันแดดที่มีขนาดใหญ่ทรงโค้งมน
ซึ่งจะช่วยปกปิดดวงตาได้ดีกว่าแว่นตาชนิดอื่น ๆ แต่หากเป็นผู้ที่มีปัญหาสายตา ควรเลือกแว่นเลนส์ออโต้
ที่เจอแสงจะปรับจากเลนส์ใสเป็นกันแดด ในส่วนของแว่นกรองแสงนั้นจะช่วยในการลดแสงได้เป็นอย่างดี
เพราะสามารถช่วยลดแสงอันตรายสีฟ้าได้ 100% โดยที่ยังคงสีธรรมชาติเสมือนจริง
เหมาะสำหรับคนที่มีอาการดวงตาแพ้แสงจากการจ้องหน้าจอเป็นเวลานานติดต่อกัน
Credit : satjashop.com
อาการ ตาแพ้แสง สู้แสงไม่ได้ ปวดหัว แสบตา จากนี้คุณคงจะพอทราบวิธีดูแลรักษากันแล้วนะคะ
ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่เพื่อปกป้องสายตามากขึ้น การกินอาหารบำรุงสุขภาพดวงตา และการเลือกใช้แว่นตาที่เหมาะสมเพื่อถนอมดวงตาให้แข็งแรงสดใส
จากนี้เพียงปฏิบัติตามคำแนะนำจากเรา รับรองค่ะว่า อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะต้องค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปอย่างแน่นอน