สุขภาพหัวใจและกระดูก 2 ส่วนสำคัญที่คนวัย 40 Up ต้องใส่ใจดูแล

สุขภาพหัวใจและกระดูก

สุขภาพคนวัย 40 ปีขึ้นไป ตลอดจนช่วงวัย ผู้สูงอายุ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องให้การดูแลใส่ใจอย่างดี เพราะอวัยวะต่างๆ

เริ่มทำงานอย่างต่ำประสิทธิภาพลง โดยเฉพาะอวัยวะ 2 ส่วนที่เราจะพูดถึงในบทความนี้นั่นก็คือ หัวใจและกระดูก ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญหลักๆ

ที่คนวัยดังกล่าวควรดูแลใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง และเพื่อการมีสุขภาพที่ดีแข็งแรง เราควรเริ่มใส่ใจดูแลอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลยค่ะ

สุขภาพ คืออะไร?

สุขภาพ (Health) คือ ภาวะของร่างกายที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงยังมีสภาวะจิตที่มีความสุข จึงเป็นความหมายรวมกันของสุขภาพ

แต่ในปัจจุบันสุขภาพไม่ได้มีเพียงแค่ในเรื่องของร่างกายและจิตใจเท่านั้น เพราะยังมีสุขภาพทางด้านสังคมที่เกี่ยวข้องรวมอยู่ด้วยเช่นกัน

ทำไมสุขภาพจึงสำคัญ?

สำหรับสุขภาพคนวัย 40 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เรื่องสุขภาพถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่มักจะถูกมองข้าม ซึ่งจริงๆ แล้ว เมื่ออายุมากขึ้น

ความเสี่ยงในการเกิดโรคย่อมมีสูง ไปดูกันว่าความสำคัญของสุขภาพและสิ่งที่เราต้องใส่ใจดูแลเมื่ออายุมากขึ้น มีอะไรบ้าง?

สุขภาพดีช่วยประหยัดค่ารักษาพยาบาลได้ : การที่เราดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ห่างไกลจากการเจ็บป่วย

หรือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ย่อมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ ซึ่งในปัจจุบันมีราคาแพงมากพอสมควร

สุขภาพดีสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้หลากหลาย : เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรง ก็สามารถที่จะเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่ต้องกังวลปัญหาสุขภาพที่จะตามมา

สุขภาพดี สุขภาพจิตใจย่อมดีตาม : การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ย่อมส่งผลทำให้สุขภาพจิตใจภายในดีตามไปด้วย

และเมื่อสุขภาพจิตดี ย่อมหมายถึงความเครียดก็มีน้อยลง ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้มีอายุที่ยืนยาวขึ้นได้ด้วย

2 อวัยวะสำคัญในแต่ละช่วงวัยที่ควรใส่ใจดูแล

1.หัวใจ

หัวใจถือเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่จะต้องใส่ใจและให้การดูแลอย่างละเอียด เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักมีปัญหาของโรคหัวใจ

เพราะสามารถส่งผลทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น ไปดูวิธีดูแลสุขภาพหัวใจของคนแต่ละช่วงวัยกันดังนี้เลยค่ะ

อายุ 40 ปี : คนวัย 40 ปี วิธีดูแลสุขภาพหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจ คือ จะต้องได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นหลักๆ

เช่น ความดันโลหิต ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย นอกจากนี้ ยังต้องใส่ใจควบคุมพดูแลฤติกรรมเป็นอย่างดี

โดยควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำและอาหารที่มีเส้นใย ควบคู่กับการออกกำลังกายวันละ 30 นาที

เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานการมีสุขภาพดีให้กับร่างกาย หากทำได้ตามนี้ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้น

อายุ 50 ปี : สุขภาพคนวัย 50 ปี ถือเป็นช่วงที่ควรใส่ใจเน้นเลือกรับประทานอาหารเช่นเดียวกับช่วงวัยที่ผ่านมา

แต่ควรเน้นรับวิตามินดีให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ เพราะวิตามินดีถือเป็นฮอร์โมนและวิตามินที่มีความสำคัญในตัว

ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับวิตามินดีที่เพียงพอก็จะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจได้

อายุ 60 ปี : สำหรับการดูแลสุขภาพคนวัย 60 ปี ควรเน้นใส่ใจดูแลเรื่องระดับความดันโลหิต ระดับไขมัน น้ำหนักและค่า BMI ในร่างกาย

เพราะเป็นตัวช่วยยืนยันความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ อีกทั้งคนวัย 60 ยังถือเป็นช่วงวัยที่จะต้องจำกัดปริมาณการทานเกลือและน้ำตาล

เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจนเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ อย่างไรก็ตาม การจำกัดปริมาณอาหารดังกล่าว

ไม่ได้หมายถึงการให้ลดอาหารที่มีประโยชน์ในส่วนอื่นๆ เพราะคนวัยนี้ยิ่งควรได้รับสารอาหารต่างๆ อย่างครบถ้วน 5 หมู่เช่นเดิม

อายุ 70 ปีขึ้นไป : คนวัย 70 Up ควรเน้นในเรื่องการรับประทานอาหารแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุบางคน

อาจจะมีปัญหาในเรื่องของมวลกระดูก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนตามมาได้ ดังนั้น จึงเป็นวัยที่ไม่เหมาะสม

ที่จะออกกำลังกาย หรืออาจจะเคลื่อนไหวได้บ้าง อย่างเช่นการเดิน เพราะเป็นการออกกำลังกายแบบที่ไม่มีการกระแทกนั่นเอง

2.กระดูก

กระดูกถือเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สามารถเสื่อมสภาพลงไปได้ตลอดเวลาเมื่ออายุมากขึ้น และเมื่อกระดูกเกิดการหักหรือแตกร้าวในช่วยวัยที่อายุมาก

อย่างเช่นวัยชรา โอกาสในการกลับมาสมานเป็นดังเดิมก็ย่อมยากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น เราจึงควรดูแลกระดูกในแต่ละช่วงวัยอย่างเหมาะสมดังนี้

อายุ 40 ปี : เมื่ออายุ 40 ปีถือว่าเป็นวัยที่กระดูกเริ่มที่จะสูญเสียมวลความแน่นหนาไปมากพอสมควร และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับปริมาณแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ควบคู่กับการบริโภควิตามินดีเพื่อช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อายุ 50 ปี : เป็นช่วงอายุที่จะต้องมีการเพิ่มปริมาณแคลเซียมจาก 1,000 มิลลิกรัม เป็น 1,200 มิลลิกรัม

โดยอาจจะเพิ่มจากการดื่มนม โยเกิร์ต หรือแม้แต่การรับประทานปลาเล็กปลาน้อย แซลมอน และผักใบเขียวเข้มซึ่งก็เป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดี

แต่อย่างไรก็ตาม ควรงดหรือหลีกเลี่ยงการทานอาหารบางชนิดด้วย เช่น ลดการทานเกลือให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงการงดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมสภาพลงง่าย

อายุ 60 ปี : นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมให้เหมาะสมกับร่างกายแล้ว

คนวัย 60 ปี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพด้วย เพื่อเช็คความหนาแน่นของมวลกระดูก และอาจปรึกษาแพทย์เรื่องการออกกำลังกาย

เพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกให้กับร่างกาย แต่จะต้องเน้นรูปแบบการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงจนเกินไป เช่น โยคะ

อายุ 70 ปีขึ้นไป : สำหรับวัย 70 ปีขึ้นไป ในเรื่องของกระดูกจะต้องมีการสังเกตอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

จะไม่สามารถปล่อยผ่านได้เหมือนกับช่วงวัยที่ผ่านมา เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับกระดูกได้ และควรที่จะต้องมีการตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำทุกปี

วิธีดูแลสุขภาพในเบื้องต้นแบบง่ายๆ

การดูแลสุขภาพคนวัย 40 ปีขึ้นไป จนกระทั่งวัยสูงอายุนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะอายุที่มากขึ้น ความเสื่อมสภาพของวัย

ก็ย่อมคืบคลานเข้ามามากขึ้นตามเช่นกัน สำหรับวิธีดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงในแบบเบื้องต้นก็สามารถทำตามได้ง่ายๆ ดังนี้

เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ : แน่นอนว่าการรับประทานอาหารถือเป็นวิธีดูแลสุขภาพที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้สูงอายุ

โดยเลือกรับประทานอาหารในระดับที่เหมาะสม ทานแคลเซียมอย่างเพียงพอ ไม่ควรทานไขมัน

และน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย ที่สำคัญควรทานอาหารให้ตรงเวลาเพื่อป้องกันการเป็นโรคกระเพาะ

ออกกำลังกายแบบที่ไม่มีแรงกระแทกอยู่เสมอ : ถือเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายได้มีการสร้างกล้ามเนื้อและมวลกระดูก

เพื่อสร้างให้ร่างกายแข็งแรงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

แต่สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป การออกกำลังกายแบบที่ไม่มีแรงกระแทกจะช่วยสร้างความปลอดภัยได้พร้อมกันอีกด้วย

พักผ่อนอย่างเพียงพอ : การพักผ่อนอย่างเพียงพอถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากร่างกายพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ

สุขภาพเกี่ยวกับอวัยวะภายในก็สามารถทำงานได้เป็นปกติ และยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตได้อีกเช่นเดียวกัน

Credit : thaihealth.or.th

จากอวัยวะทั้ง 2 อย่างที่กล่าวถึง ล้วนเป็นส่วนสำคัญของสุขภาพร่างกายไม่แพ้ส่วนอื่นใดเลยทีเดียว

โดยเฉพาะ คนวัย 40 ปีขึ้นไป ตลอดจนคนสูงอายุ และยิ่งอายุมาก สุขภาพคนสูงอายุ ก็ยิ่งควรได้รับการใส่ใจดูแลเป็นอย่างดี

ลองนำคำแนะนำเหล่านี้ไปใช้กันดู สุขภาพที่แข็งแรงก็จะเป็นของคุณกันได้โดยง่ายยิ่งขึ้น