วิธีรับมือโรคกระดูกพรุน พร้อมอาหารป้องกันโรคกระดูกพรุนที่มีประโยชน์

ปัญหากระดูกพรุนในผู้สูงอายุ นับเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมากและเป็นกันได้แทบทุกคน เพราะเมื่ออายุมากขึ้นความหนาแน่นของมวลกระดูกก็จะลดลง แต่เราสามารถรับมือและป้องกันไม่ให้ โรคกระดูกพรุน มาเยือนได้ หรือหากเกิดโรคนี้แล้วก็สามารถชะลออาการของโรคไม่ให้รุนแรงได้ เช่น การทาน อาหารป้องกันโรคกระดูกพรุน และวิธีอื่นๆ โดยเรามีคำแนะนำมาให้ปฏิบัติด้วยกันดังนี้ โรคกระดูกพรุน คืออะไร? โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคกระดูกชนิดหนึ่งที่เกิดจากความหนาแน่นภายในมวลกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกเสื่อม เปราะและบางลง จนเกิดการผิดรูปและแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะในวัยสูงอายุ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกไม่สามารถทำงาน หรือเคลื่อนไหวได้ปกติเหมือนเคย เช่น ทนต่อการรับน้ำหนักหรือแรงกระแทกได้น้อยลง เป็นต้น โดยสามารถเกิดได้กับกระดูกเกือบจะทุกส่วนของร่างกายได้ ซึ่งส่วนที่พบมักมักจะเป็นบริเวณ กระดูกสันหลัง สะโพก และข้อมือ อาการของโรคกระดูกพรุน ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการแสดงออกแบบชัดเจน แต่จะมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่พอจะใช้สังเกตเบื้องต้นได้ เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที นั่นก็คือ กระดูกแตกหักง่าย แม้จะไม่ได้ถูกกระแทกอย่างรุนแรง ปวดหลังแบบเรื้อรัง หลังมีลักษณะงอ ส่วนสูงลดลงในผู้ป่วยบางราย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค 1.อายุ มักจะเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป 2.เพศ โรคกระดูกพรุนพบในเพศหญิงมากกว่าในเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 40-45 ปี หรือเคยผ่านการผ่าตัดเอารังไข่ออกก่อนที่จะถึงวัยหมดประจำเดือน 3.น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน […]

kaewsai

August 25, 2018

ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือด ภัยเงียบใกล้ตัวที่ควรเฝ้าสังเกต

ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ สามารถเกิดขึ้นโดยที่ผู้สูงอายุไม่รู้ตัวจนกว่าอาการจะแสดงออก ดังนั้น เพื่อเป็นการเตือนผู้สูงอายุให้รู้เท่าทันภาวะอาการดังกล่าว คนดูแลใกล้ชิดก็จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับภาวะนี้กันแต่เนิ่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อคอยให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่คุณดูแล และเพื่อคอยเฝ้าสังเกตอาการร่วมด้วย โดยเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุก็มีดังนี้ ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ คืออะไร? ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ (Angina) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดอย่างเพียงพอ ซึ่งไม่ได้มีผลแค่ในเรื่องของเลือดแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะสามารถที่จะส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งในการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเป็นผลอันตราย เนื่องจากจะทำให้หัวใจเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็วและที่สำคัญยังสามารถส่งผลต่อการเสียชีวิตได้ สาเหตุของภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง? สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ อย่างที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ซึ่งสามารถอธิบายสาเหตุเพิ่มเติมได้ดังนี้ 1.ปัญหาช่องปาก (oral disease) ช่องปากเป็นส่วนที่สามารถทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเป็นโรคเหงือก ก็จะทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียภายในเหงือกและฟัน เมื่อรับประทานอาหารหรือกลืนน้ำลายก็จะทำให้แบคทีเรีย สามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง ซึ่งแบคทีเรียที่เข้าสู่กระแสเลือดก็จะเติบโตอยู่กับคราบที่มีการสะสมภายในหลอดเลือด เช่น ไขมัน หลังจากนั้นก็จะส่งผลปฏิกิริยาทำให้เลือดเป็นลิ่ม จนเข้าไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดทางเข้าหัวใจ 2.โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) สาเหตุจากการที่ไขมันเกาะตัวอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเป็นปกติ และกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดในปริมาณที่เพียงพอ จนส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย 3.ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด (Hypoxia) ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าปริมาณของออกซิเจนในเลือด แต่การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจยังเป็นปกติ ก็จะเป็นการนำคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับหัวใจ ดังนั้น เมื่อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนในเลือด ก็จะทำให้การทำงานมีความผิดปกติและส่งผลเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ […]

kaewsai

August 25, 2018

การตรวจคัดกรองโรคในผู้ชายวัย 40 ปีขึ้นไป อะไรบ้างที่ควรตรวจ?

สำหรับผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไปควรที่จะต้องมีการตรวจทุกปี เพราะผู้ชายเป็นเพศที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเฉพาะเพศชายหลายโรค โดยเฉพาะตอนอายุก้าวเข้าสู่วัยเลข 4 ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลายอย่าง โดยกระบวนการตรวจคัดกรองพร้อมสิ่งที่ควรรรู้ก็มีดังนี้ การตรวจคัดกรองโรค คืออะไร? การตรวจคัดกรองโรค (Screening Tests) คือ การตรวจสุขภาพประจำปี แต่สามารถที่จะเข้าไปขอรับการตรวจได้ตลอดเวลา หากเริ่มมีอาการของโรค แม้ยังไม่ถึงระยะเวลาในการตรวจสุขภาพประจำปีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้เท่าทันโรค และรับมือกับความผิดปกติอันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงที ทำไมการตรวจคัดกรองโรคจึงสำคัญ? อย่างที่ทราบว่าการตรวจคัดกรองโรคคือ การตรวจสุขภาพ สาเหตุที่จะต้องตรวจ เนื่องจากการตรวจสุขภาพจะสามารถทำให้ค้นพบความผิดปกติหรือพบเจอโรคได้เร็ว โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ถือเป็นช่วงวัยที่ระบบภายในร่างกายมีประสิทธิภาพในการดูแลและซ่อมแซมตนเองที่ต่ำลง จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย เช่น โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิต โรคหัวใจและโรคเบาหวาน การตรวจคัดกรองโรคในเพศชาย มีโรคอะไรบ้าง? หากจะแยกการตรวจคัดกรองโรคเป็นเพศชายและเพศหญิง ขั้นตอนหรือรูปแบบสำหรับการตรวจคัดกรองจะแตกต่างกันไป เพราะเพศชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มักจะมีโรคที่เป็นความเสี่ยงเฉพาะเพศชายเท่านั้น  โดยการตรวจคัดกรองโรคสำหรับเพศชายที่สำคัญหลักๆ มีดังนี้ 1.มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ถือเป็นวัยที่ควรจะเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากจะเติบโตอย่างช้าๆ ดังนั้น การตรวจเพื่อให้พบเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากจึงเป็นไปได้ยาก ยกเว้นสำหรับบางรายที่เซลล์มะเร็งกระจายตัวได้รวดเร็วย่อมทำให้แสดงอาการออกได้อย่างชัดเจน […]

kaewsai

August 23, 2018

10 โรงพยาบาลรักษาโรคผิวหนัง บอกลาทุกปัญหาผิวด้วยเครื่องมือทันสมัย

โรงพยาบาลรักษาโรคผิวหนัง ในปัจจุบันนี้มีมากมายหลายแห่ง และกำลังเป็นกระแสนิยมด้านการดูแลผิวพรรณ ด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ก้าวหน้าทางการแพทย์ โรงพยาบาลรักษาโรคผิวหนังแต่ละแห่งจึงได้จัดสรรเครื่องมือทันสมัย มาใช้รักษาคนไข้ รวมถึง โรงพยาบาลโรคผิวหนัง 10 แห่งที่เราจะแนะนำในบทความนี้ก็เช่นกัน เพราะมีทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ทันสมัยครบครัน พร้อมให้บริการคนไข้ทั้งในและต่างประเทศ มีทั้งที่ตั้งอยู่ทั้งใจกลางเมืองและเขตปริมณฑล พร้อมให้บริการประชาชนแล้ว ว่าแต่โรงพยาบาลรักษาโรคผิวหนังทั้ง 10 แห่งตั้งอยู่ที่ไหนบ้าง มาดูกันค่ะ โรงพยาบาลรักษาโรคผิวหนัง 10 แห่ง มีที่ใดบ้าง? 1.สถาบันโรคผิวหนัง กระทรวงสาธารณสุข สถานบันโรคผิวหนัง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นสถาบันชั้นนำด้านผิวหนังระดับนานาชาติ เปิดให้บริการแบบผู้ป่วยนอกทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-15.00 น. เว้นวันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดราชการ มีคลีนิคพิเศษนอกเวลาราชการ แผนกผู้ป่วยใน ห้องผ่าตัด ศูนย์เลเซอร์ผิวหนัง คลีนิคผื่นแพ้สัมผัส และอาชีวะเวชศาสตร์ คลีนิครังสีวิทยา คลีนิควิทยาภูมิคุ้มกัน คลีนิคโรคพันธุกรรม คลีนิคเส้นผมและเล็บ คลีนิคปลูกถ่ายเส้นผม คลีนิคโรคเรื้อน โรคติดต่อ คลีนิคสะเก็ดเงิน คลีนิคโรคผิวหนังเด็ก และศูนย์ไบโอเอนจิเนียริ่ง หากใครมีปัญหาด้านผิวหนัง สามารถติดต่อที่สถาบันโรคผิวหนังแห่งนี้ได้เลย ที่ตั้ง : […]

kaewsai

August 22, 2018

กินเป็นก็ผอมได้กับ Keto Diet วิธีลดน้ำหนักแบบโลว์คาร์บ คนวัย 40 Up ก็ทำได้ !

การทำ Keto Diet เป็นวิธีลดน้ำหนักรูปแบบใหม่ที่หลายคนอาจจะพอรู้จักกันมาแล้วบ้าง แต่ในบางคนอาจจะยังไม่เคยรู้จักสูตรลดน้ำหนักแบบนี้ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการลดน้ำหนักดังกล่าว นอกจากลดได้กับคนทุกวัยแล้ว ยังเป็นวิธีลดน้ำหนักสำหรับ คนวัย 40 ปีขึ้นไปได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เพราะบางคนไม่สะดวกออกกำลังกาย ดังนั้น เราอาจจะมาเน้นการไดเอทด้วยวิธีการกินให้เหมาะสม ดั่งวิธีที่เราจะนำมาฝากนี้ วิธีลดน้ำหนักแบบ Keto Diet คืออะไร ทำได้อย่างไรบ้าง ไปติดตามกันเลย Keto Diet คืออะไร? คีโตไดเอท (Keto Diet) หรือ คีโตเจนิคไดเอต (Ketogegenic Diet) คือ สูตรลดน้ำหนักด้วยการกินแบบโลว์คาร์บ โดยเน้นทานอาหารที่มีไขมันสูง ทานโปรตีนอยู่ในขนาดปานกลาง แต่จะทานคาร์โบไฮเดรตปริมาณน้อยที่สุด จึงเป็นรูปแบบของการลดน้ำหนักที่แบบโลว์คาร์บไดเอต (Low-carb Diet) คือจะเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตเข้าสู่ร่างกายให้น้อยที่สุด แต่สำหรับวิธีการทำคีโตไดเอทนั้นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบภายในร่างกาย ให้นำไขมันมาใช้เพื่อเป็นพลังงานทดแทนการคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงาน ซึ่งในขณะที่ร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณน้อยลง จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตซิสซึ่งเป็นขบวนการช่วยร่างกายเผาผลาญไขมันสะสม ภาวะคีโตซิสคืออะไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? ภาวะคีโตซิส (Ketosis) คือ ภาวะที่มีผลกระทบจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตในร่างกายลดลง เพราะคาร์โบไฮเดรตถือเป็นสิ่งสำคัญของร่างกาย ที่จะนำมาใช้เพื่อผลิตพลังงานเอาไว้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งหากร่างกายได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตซิส ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายทำการผลิตคีโตน […]

kaewsai

August 21, 2018

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก ปัญหาสุขภาพจิตที่เล่นงานคนยุคใหม่ได้ง่ายไม่รู้ตัว

โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก เป็นโรคใหม่ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แต่ด้วยเพราะยุคสมัยที่ก้าวล้ำไปด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์นับวันก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากขึ้น กระแสการอัพเดทเรื่องราวชีวิตตนเองผ่านเฟซบุ๊กจึงมีมากขึ้นตาม และโซเชียลมีเดียก็ล้วนแฝงไปด้วยความหลอกลวงเช่นกัน บางอย่างก็ไม่ใช่ข้อมูลจริง อาจเป็นข้อมูลที่บิดเบือน โดยเฉพาะเฟซบุ๊กที่นอกจะช่วยย่อโลกของมิตรภาพมาใกล้ชิดกันมากขึ้นแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่าการเล่นเฟซบุ๊ก หากผู้เล่นใช้ประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง ก็ย่อมตกเป็นเหยื่อของเฟซบุ๊กอย่างการมีปัญหาทางสุขภาพจิต จากการอิจฉาคนอื่นที่มีชีวิตดีกว่า นำมาซึ่งการมองตัวเองในคุณค่าที่ต่ำลง จนทำให้เกิดโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กตามมาในที่สุด โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก คืออะไร โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) เกิดจากการใช้งานเฟซบุ๊ก จนอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ หากเครือข่ายสังคมก่อให้เกิดความอิจฉาในหมู่ผู้ใช้ ขณะเดียวกัน เฟสบุ๊กอาจเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานและส่งผลให้สุขภาพดี หากผู้ใช้ใช้ประโยชน์เพื่อเชื่อมต่อกับครอบครัว และเพื่อนเก่าเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจและมีความสำคัญในชีวิตในรูปแบบที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม หากเฝ้ามองเพื่อนที่กำลังทำเงินหรือสร้างความสุข เฟซบุ๊กก็สามารถดึงคุณให้ไปสู่ความรู้สึกที่หดหู่ใจได้ สาเหตุของโรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression Syndrome) มีสาเหตุมาจากการติดตามเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น เฟสบุ๊ก ผลลัพธ์จากการศึกษาบางชิ้นได้ชี้ให้เห็นว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจาก 1.การใช้สื่อสังคมออนไลน์อาจลดความสัมพันธ์แบบเห็นหน้ากัน 2.ลดการลงทุนในกิจกรรมที่มีปฏิสัมพันธ์ 3.เพิ่มพฤติกรรมการเดิน นิ่ง โดยการกระตุ้นให้มีเวลาหน้าจอมากขึ้น 4.นำไปสู่การเสพติดอินเทอร์เน็ตและการทำลายความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผ่านการเปรียบเทียบทางสังคมที่ไม่เอื้ออำนวย คนมักจะแสดงแง่มุมที่ดีที่สุดในชีวิตของตนเองบนโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างความเป็นไปได้ที่ต้องการให้คนอื่นเชื่อว่าชีวิตของตนเองดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตของเพื่อน ๆ ที่แสดงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ […]

kaewsai

August 20, 2018
1 3 4 5 98