ยานอนหลับกลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ พบว่า 1 ใน 25 คนจากการสุ่มตัวอย่างในผู้ใหญ่ มีการใช้ยานอนหลับเป็นประจำ
พบว่าในปี ค.ศ. 2015 ชาวอเมริกันใช้จ่ายเงินไปกับยาชนิดนี้มากถึง 4,100 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับไม่ว่าจากสาเหตุใดๆ
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 5,200 ล้านบาทในปี ค.ศ.2020 (ข้อมูลจากเว็บไซต์ Time.com)
อาหารเสริมเมลาโทนิน กับการรักษาภาวะนอนไม่หลับ
ดร.ดาเนียล บารอน ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยาประจำ New York-Presbyterian และ Weill-Cornell Medicine จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเมลาโทนินในผู้ป่วยที่มีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง หรือที่เรียกกันว่า โรค Insomnia
(อ่านเพิ่มเติม : ภาวะนอนไม่หลับ ตัวปัญหาที่สาวออฟฟิศต้องจัดการก่อนสุขภาพพัง ! )
ขณะที่ฮอร์โมนภายในสมองถูกปล่อยออกมาเพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับการนอนหลับ
เม็ดยาที่มีส่วนผสมของเมลาโทนินทั้งชนิดเม็ดและของเหลวสามารถหาได้ทั่วไปตามร้านขายยาหรือในร้านอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ
แต่ในทางวิทยาศาสตร์พบว่าพฤติกรรมบางอย่างของผู้คนในยุคสมัยนี้กลับกลายเป็นตัวการทำให้เมลาโทนินตามธรรมชาติลดลง
ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่เรากำลังจ้องทีวี คอมพิวเตอร์ หรือเล่นมือถือก่อนนอนในห้องที่สว่างไม่เพียงพอ
และยังมีพฤติกรรมของคนที่ปิดไฟเล่นมือถือก่อนนอนอีกเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินได้ไม่มากพอเท่าที่ควร
การใช้อาหารเสริมเมลาโทนินจึงถูกนำมาเป็นตัวช่วย แต่เป็นการช่วยบรรเทาการในระยะสั้นๆ เท่านั้น
โดยการรับประทานเมลาโทนินชนิดเสริม 1-3 มิลลิกรัม ก่อนเข้านอนประมาณ 30-60 นาที จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
ผู้คนที่กำลังมองหาทางออกให้ตัวเองนอนหลับได้ กำลังหันมาพึ่งพาการเยียวยาจากธรรมชาติมากขึ้นกว่าเดิม
เนื่องจากการใช้อาหารเสริมที่มีส่วนผสมของเมลาโทนนินเพิ่มมากขึ้นจากปี 2007 ถึงปี 2012
ในขณะที่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ปรากฏว่า การรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยสมุนไพร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่สุด และยังช่วยป้องกันภาวะเสพติดยา
ดังนั้นปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง จนกลายเป็นปัญหาต่อเนื่องมายาวนานเป็นสิ่งที่ควรรีบหาทางออก
โดยหลักๆ มักจะมีสาเหตุทั่วไปขั้นพื้นฐาน โดย ดร.ดาเนียล บารอน กล่าวเอาไว้ว่า มี 4 ทางเลือกที่น่าสนใจต่อไปนี้ตามผลการศึกษาทางการแพทย์
อาจจะช่วยให้คุณสามารถกลับมานอนหลับได้ง่ายและเร็วขึ้น หากการใช้อาหารเสริมเมลาโทนินไม่ช่วยแก้ปัญหาได้
1.ราก Valerian พืชสมุนไพรธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาภาวะนอนไม่หลับ
หากอาหารเสริมเมลาโทนินไม่ทำงาน หรือผู้ป่วยไม่ต้องการใช้ยา
พบว่ามีการนำเอารากวัลเรียนมาใช้ตั้งในปี ค.ศ.2015 มีการตีพิมพ์ผลการศึกษาลงในนิตยสารการแพทย์ “Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine”
กล่าวว่า ผู้ป่วย Insomnia ที่ลองกินรากพืชชนิดนี้ ช่วยแก้ปัญหาภาวะนอนไม่หลับได้เป็นอย่างดี และมีความปลอดภัย
กระนั้นผลกระทบที่อาจพบได้คือผลข้างเคียงที่จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของยาชนิดอื่นๆ ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
ดร.บารอนยังกล่าวเอาไว้อีกว่า ผลการศึกษาที่ดีจะต้องติดตามผลของคนไข้ด้วยว่ามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าภายหลังจากการกินรากวัลเรียนเข้าไป เพราะบางคนรู้สึกมึนเมาเหมือนคนเมาค้าง
2.การสูดดมลาเวนเดอร์เพื่อช่วยให้เกิดการผ่อนคลายก่อนนอนหลับ
มีการศึกษาในปี 2016 ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Explore ว่าการได้กลิ่นดอกลาเวนเดอร์หอมๆ ในช่วงก่อนนอน
จะทำให้นอนหลับเร็วและหลับลึกดีขึ้น เมื่อตื่นขึ้นมาตอนเช้าจะรู้สึกสดชื่นมีพลังในการทำงานมากขึ้น
ตามการศึกษาในวารสารของสมาคมการแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่าการสูดดมลาเวนเดอร์ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นนั้นมาจากน้ำมันหอมระเหย
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและความดัน การสูดดมน้ำมันหอมระเหยชนิดนี้ ช่วยลดความดันโลหิต
ช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง ลดอุณหภูมิผิวหนัง แตกต่างจากกลุ่มที่ถูกแพทย์ให้ดมลาเวนเดอร์ที่เป็นน้ำมันหอมระเหยธรรมดาไม่มีการผสมจากลาเวนเดอร์แต่อย่างใด
3.การดื่มชาดอกคาโมไมล์ที่มีมายาวนอนหลายพันปี
นักวิทยาศาสตร์พบว่าคาโมไมล์กลายเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้เกิดการนอนหลับได้เป็นอย่างดีด้วยนำเอาดอกแห้งมาทำการชงชาดื่มร้อนๆ
มีการยอมรับและสืบทอดมายาวนานนับพันๆ ปี ในขณะที่การวิจัยกล่าวว่าผลกระทบของดอกคาโมไมล์ที่มีผลต่อการอนหลับจะดีขึ้นอย่างช้าๆ
การศึกษานี้มีขึ้นในปี ค.ศ.2016 ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Advanced Nursing พบว่าผู้ที่ดื่มชาคาโมไมล์ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลาประมาณ 2 อาทิตย์
จะมีปัญหาภาวะนอนไม่หลับลดน้อยลง รวมถึงยังเป็นตัวช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายและลดภาวะเครียดไปในตัว
ดร.บารอนกล่าวเพิ่มเติมเอาไว้ถึงดอกคาโมไมล์ว่า การจิบชาอุ่นๆ ในบรรยากาศเงียบๆ ที่เป็นส่วนตัว
จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลายและช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น โดยไม่มีอันตรายใดๆ จากการดื่มชา แต่กลับให้ผลในด้านบวกต่อผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
4.การทำสมาธิเพื่อช่วยให้จิตใจสงบ
ดร.บารอนเป็นบุคคลที่เชื่อมั่นในการทำสมาธิ แม้จะไม่ใช่การปฏิบัติตามแนวทางพุทธศาสนาโดยตรง
ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเพียงเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายด้วยการเจริญสติและการทำสมาาธิ
หลักการง่ายๆ ของเขา คือให้ผู้ป่วยอยู่ห่างจากเครื่องมือสื่อสารและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ มือถือ เครื่องเสียง ฯลฯ ก่อนนอน 30-6 นาที
นั่งอยู่เงียบๆ ด้วยการหายใจเข้าออกช้าๆ แบบลึกๆ อาจเลือกฟังเพลงที่นุ่มนวล ให้ความรู้สึกผ่อนคลายเป็นตัวช่วยให้สมาธิถูกโฟกัสได้ง่ายขึ้น
การฝึกเจริญสติอย่างน้อยเป็นเวลา 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเคยชินในการสร้างความผ่อนคลายผ่านลมหายใจ
ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น และลดอาการอ่อนล้าในระหว่างวันลงไปได้อีกด้วย
Photo Credit : fpmedcenter.com
จะเห็นได้ว่าการใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 ทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับ
เป็นทางออกง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ในกลุ่มที่ไม่ประสงค์กินอาหารเสริมเมลาโทนินหรือกินแล้วไม่ได้ผล
การปรับพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวในช่วงก่อนนอน ยังเป็นอีกทางออกที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแก้ไขภาวะนอนไม่หลับได้จนติดเป็นนิสัยเคยชินที่ดีต่อสุขภาพตามมา
หมดปัญหาภาวนะนอนหลับยากหรือนอนไม่หลับ ให้คุณภาพชีวิตของสาวๆ กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง พร้อมเติมเต็มพลังทำงานในแต่วันให้สมบูรณ์ไปในตัวอีกด้วยค่ะ