พังผืดมดลูก อาการเป็นอย่างไร มีสาเหตุ และวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง?

มดลูก เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้หญิง เพราะเป็นอวัยวะที่ใช้ในการสืบพันธุ์ หากไม่มีมดลูก ผู้หญิงเราก็ย่อมไม่สามารถให้กำเนิดบุตรได้ แต่ขณะเดียวกัน มดลูกก็มาพร้อมปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านโรค หรืออาการที่เกิดขึ้นกับมดลูก ไม่ว่าจะเป็นมะเร็ง เนื้องอก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ พังผืดมดลูก ฯลฯ วันนี้เราจะพูดถึงพังผืดมดลูก มาดูกันนะคะว่า พังผืดมดลูกคืออะไร สาเหตุ อาการและวิธีรักษาทำได้อย่างไรบ้าง บทความนี้เราคัดสรรคำตอบมาฝากสาวๆ แล้วค่ะ มดลูก คืออะไร? มดลูก (Uterus) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้หญิงที่มีไว้สำหรับการตั้งครรภ์ สามารถขยายตัวได้มากตามความเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และจะหดตัวกลับคืนสู่สภาพปกติภายหลังจากการคลอดแล้ว มดลูกมีลักษณะคล้ายกับลูกฝรั่งของไทยหรือลูกแพร์ของฝรั่ง มีขนาดโดยปกติยาวประมาณ 3 นิ้ว เป็นอวัยวะของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน มีส่วนประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วนคือ 1.ตัวมดลูก : เป็นบริเวณส่วนใหญ่และเป็นที่สำหรับให้ทารกเจริญเติบโต ภายในตัวมดลูกก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์หรือการตกไข่ ผนังมดลูกจะขยายตัวเพื่อเตรียมที่จะรับไข่ที่ผสมแล้ว แต่หากไข่ไม่ได้รับการผสมจากเชื้ออสุจิ ผนังมดลูกจะค่อยๆ เสื่อมลง และมีการบีบตัวเพื่อขับสิ่งต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาทิ้งไปพร้อมทั้งมีการตกเลือดที่เรียกว่า ประจำเดือน ซึ่งการมีประจำเดือน เป็นการทำความสะอาดภายในมดลูก ความสกปรกต่างๆ ทั้งหลายจะถูกชะออกมา แต่หากไม่รักษาความสะอาดให้ดีก็อาจจะเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย 2.ปากมดลูก : เป็นส่วนปลายแคบๆ […]

kaewsai

February 1, 2018

ประจำเดือนมามากผิดปกติ อันตรายไหม?

เป็นที่รู้กันดีว่า ประจำเดือน เป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กับผู้หญิงทุกคน ซึ่งจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ช่วงอายุ 12-15 ปี เหตุที่เรียกกันว่าประจำเดือนนั้น เกิดจากการที่เลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ สลายตัวหลุดลอกออกจากเยื่อบุมดลูก ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน มักจะเกิดขึ้นทุก ๆ 28-30 วัน หรือทุก ๆ เดือนนั่นเอง การมาของประจำเดือนในแต่ละครั้งนั้น จะกินเวลาประมาณ 3-7 วัน ในช่วง 1-3 วันแรกก็มักจะมามากกว่าทุก ๆ วัน ซึ่งบางคนอาจจะต้องใช้ผ้าอนามัย 1-3 แผ่น แต่เมื่อพ้นวันที่ 4 ไปแล้วก็จะค่อย ๆ น้อยลงและหมดลงไปเอง เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ร่างกายของเราก็จะเริ่มจดจำได้ว่าประจำเดือนของเรามักจะมาช่วงวันที่เท่าไร และระยะเวลากี่วัน สาเหตุของการมีประจำเดือนมากผิดปกติ เมื่อใดก็ตามที่ ประจำเดือนมามากผิดปกติ วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ เพราะการมีประจำเดือนมากผิดปกตินั้น บ่งบอกถึงความไม่ปกติของร่างกายที่อาจจะส่งผลร้ายแรงได้ โดยสามารถจำแนกสาเหตุออกมาได้ คือ 1.ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล อย่างที่บอกไปในข้างต้นว่า ฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อการสร้างประจำเดือนในเพศหญิง ก็คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน นั่นเอง ซึ่งจะทำงานร่วมกับโปรเจสเตอโรน ในการสร้างสมดุลเพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกไปสร้างตัวขึ้นมาไม่ […]

kaewsai

November 17, 2017

ว่านชักมดลูก ยากระชับมดลูก สุดยอดสมุนไพรเรียกคืนความสาว

ว่านชักมดลูก มักนำมาใช้เป็น ยากระชับมดลูก สำหรับสาวๆ ที่เพิ่งผ่านการคลอดบุตร และรู้สึกว่ามดลูกภายในไม่กระชับ หลายคนมีปัญหานี้จนสร้างความกังวลใจไม่น้อย ดังนั้น หลายคนจึงมองหายากระชับมดลูกมารับประทาน เพื่อเรียกคืนความฟิตกระชับให้กับมดลูกอีกครั้ง ซึ่งวันนี้เราก็พร้อมแล้วค่ะกับการนำว่านชักมดลูก หรือยากระชับมดลูกให้เข้าอู่มาฝาก เป็นอย่างไรบ้าง รีบไปตามติดพร้อมๆ กันเลย ว่านชักมดลูก คืออะไร? สมุนไพรว่านชักมดลูก หรือชื่อเรียกอื่น ๆ อย่าง ว่านทรหด ว่านการบูรเลือด ว่านพระยาหัวศัก ว่านหำหด และทางภาคใต้เรียกว่า ว่านกระชากมดลูก เป็นสมุนไพรธรรมชาติที่จัดอยู่ในตระกูลของขิง เป็นกลุ่มเดียวกันกับขมิ้นชัน มีอยู่หลายสายพันธุ์ พบมากในท้องตลาดอยู่ 2 สายพันธุ์คือ ว่านชักมดลูกตัวเมียหรือว่านตัวเมีย มีลักษณะหัวกลมรีตามแนวตั้ง แขนงสั้น เนื้อในว่านมีสีขาวนวล วงในมีสีชมพูเรื่อ ๆ เมื่อทิ้งเอาไว้สีชมพูจะเข้มขึ้น ว่านชักมดลูกตัวผู้หรือว่านตัวผู้ มีลักษณะแตกต่างจากว่านชักมดลูกตัวเมียเล็กน้อยคือ แขนงข้างจะยาวกว่ากับหัวใต้ดินจะกลมแป้นกว่า เนื้อในว่านมีสีคล้ายกันกับเนื้อในว่านของว่านชักมดลูกตัวเมีย แต่วงในจะออกสีเขียวแกมเทาอ่อน ๆ ทิ้งไว้จะออกสีชมพูเข้มเหมือนกัน สรรพคุณว่านชักมดลูก – ช่วยบรรเทาอาการโรคริดสีดวงทวาร – ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัวไม่เข้าที่ และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่ไวขึ้น – ช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน […]

kaewsai

August 19, 2017

มดลูกไม่เข้าอู่ ปัญหาที่คุณแม่หลังคลอดรับมือได้ !

มดลูกไม่เข้าอู่ มักเป็นปัญหาใหญ่ของคุณแม่หลังคลอดทั้งหลาย โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องคลอดเอง นอกจากจะทรมานกับอาการคลอดแล้ว อาการมดลูกไม่เข้าอู่ ยังทำให้คุณแม่ไม่สบายใจตามมาได้ทุกครั้ง วันนี้เลยมีคำแนะนำกับ วิธีแก้มดลูกไม่เข้าอู่ มาฝาก ต้องทำอย่างไรบ้าง ไปติดตามกันดีกว่าค่ะ ทำความรู้จัก “ภาวะมดลูกเข้าอู่” กันก่อน ในช่วงของการตั้งครรภ์ นับตั้งแต่วันที่มีการฝังตัวมดลูกจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนผนังมดลูกก็จะนุ่มขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน และเมื่อถึงช่วงใกล้คลอดมดลูกจะบางลงมีการเปิดขยายตัวมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด ส่งผลให้บริเวณปากมดลูกเกิดการฉีกขาด ซึ่งหลังจากที่คลอดเสร็จมดลูกจะหดรัดตัว ระดับยอดมดลูกจะลดระดับต่ำกว่าสะดือ และหลังคลอดประมาณ 4 – 6 อาทิตย์ มดลูกจะกลับมาอยู่ในสภาพตามเดิม เรียกภาวะนี้ว่า มดลูกเข้าอู่ ซึ่งโดยปกติแล้วระดับมดลูกจะลดลงดังนี้ หลังคลอด มดลูกจะอยู่ระหว่างสะดือกับหัวเหน่าในทันที 1 ชั่วโมง หลังคลอด มดลูกจะลอยตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับสะดือ จากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนบนกับส่วนล่างไม่เท่ากัน 2 วัน หลังคลอด มดลูกจะหดรัดตัว และลดขนาดลงวันละประมาณครึ่งนิ้วถืงหนึ่งนิ้ว 7 วัน หลังคลอด มดลูกจะอยู่ในระดับกึ่งกลางระหว่างสะดือกับหัวเหน่า 2 อาทิตย์ หลังคลอด มดลูกจะอยู่ระดับหัวเหน่า ซึ่งจะคลำไม่เจอมดลูกทางหน้าท้อง 6 อาทิตย์ […]

kaewsai

August 18, 2017

อุ้งเชิงกรานอักเสบ โรคทางระบบสืบพันธุ์ในผู้หญิงที่ไม่ควรมองข้าม

อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (pelvic  inflammatory disease;PID) เป็นโรคที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยในผู้หญิง จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดเชื้อที่อันตรายและน่ากลัว ด้วยภาวะอักเสบและติดเชื้อที่เกี่ยวเนื่องกับอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนบน ซึ่งจะอยู่ในตำแหน่งของมดลูก, รังไข่, ท่อนำไข่และอวัยวะใกล้เคียงด้วย เราอาจะเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า โรคปีกมดลูกอักเสบ สาเหตุที่พบหลักๆ มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งถือว่าเป็นกามโรคที่จะไปส่งผลให้ท่อนำไข่เกิดภาวะตีบตัน ตามมาด้วยผลกระทบที่น่ากลัวหากไม่รีบทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตัว และให้ทราบถึงอาการของโรคได้ทัน สาวๆ ควรมาลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้กันให้มากขึ้นดีกว่าค่ะ ลักษณะอาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบ การอักเสบของอุ้งเชิงกราน สามารถเรียกได้หลายชื่อ ขึ้นอยู่กับอวัยวะสืบพันธ์ที่เกิดการติดเชื้อ ดังนั้นโรคนี้จึงมีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง เมื่อพบการติดเชื้อที่จุดไหน ส่วนใหญ่แพทย์มักจะเรียกคามชื่อจำเพาะกับอวัยวะนั้นๆ เช่น การอักเสบของท่อนำไข่ การอักเสบของรังไข่ หรือการอักเสบของมดลูก เป็นต้น การติดเชื้อที่เกิดขึ้นนี้ จัดว่าเป็นการติดเชื้อที่มีความรุนแรง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาสามารถหายเป็นปกติได้ และอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ เช่นเดียวกันหากเข้ารับการรักษาช้าเกินไป ทั้งนี้การติดเชื้อจากปีกมดลูกจนทำให้อักเสบ ยังสามารถลุกลามไปยังรังไข่และท่อรังไข่ รวมถึงอวัยวะใกล้เคียงร่วมด้วย ไม่เพียงแค่จะพบกับโรคแทรกซ้อนเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงตามมา ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ยังแบ่งตามระยะเวลาการเกิดออกเป็น อุ้งเชิงกรานอักเสบเฉียบพลัน (acute pelvic inflammatory disease) และชนิดอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง (chronic pelvic inflammatory […]

admin24

September 27, 2016

แปปสเมียร์ (Pap Smear) ตรวจภายใน ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็ง จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่พบได้บ่อยเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกที่เข้ามาคุกคามคุณภาพชีวิตของผู้หญิง กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง ส่วนมากมักจะมีอาการของโรคที่ลุกลามจนยากแก่การรักษา ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง เพราะสาวๆ มักจะหวั่นใจ ไม่กล้าเข้ารับการตรวจภายในที่เรียกกันว่า “แปปสเมียร์” (Pap Smear) ซึ่งเป็นการตรวจแบบเฉพาะสำหรับระบบสืบพันธุ์ของสตรี ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจอย่างละเอียดตั้งแต่รังไข่ ท่อนำไข่ และมดลูก สาวๆ จึงไม่ควรรอให้สายเกินแก้ แม้ไม่มีอาการบ่งชี้ ก็ควรเข้ารับการตรวจประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และมีโอกาสกลับมาหายเป็นปกติได้นั่นเองค่ะ แปปสเมียร์กับการตรวจภายใน โดยปกติหากพูดถึงการตรวจภายใน จะหมายถึงการที่แพทย์ทำการตรวจระบบสืบพันธุ์ทั้งหมดของผู้หญิง ซึ่งจะมีการนำเอาการตรวจแปปสเมียร์ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า pap มาตรวจด้วย การตรวจนี้จะเริ่มขึ้นก่อนตรวจภายใน แล้วแต่ว่าผู้ที่เข้ารับการตรวจต้องการตรวจร่วมด้วยหรือไม่ วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ สามารถตรวจหา ความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูก ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น มีความแม่นยำ และให้ผลวินิจฉัยที่มีความรวดเร็ว ใครบ้างที่จำเป็นต้องตรวจแปปสเมียร์ สาวๆ ที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีความจำเป็นต้องตรวจภายในด้วยวิธีนี้หรือไม่นั้น ให้ทราบเอาไว้เลยว่า เมื่อเป็นผู้หญิงและเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ การตรวจแปปสเมียร์เป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยง หรือหากเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมโรคมะเร็งอเมริกา ควรตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ภายหลังจากนั้นประมาณ 3 ปี หรือหากเป็นไปได้ ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 21 […]

admin24

June 24, 2016