ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือด ภัยเงียบใกล้ตัวที่ควรเฝ้าสังเกต

ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ สามารถเกิดขึ้นโดยที่ผู้สูงอายุไม่รู้ตัวจนกว่าอาการจะแสดงออก ดังนั้น เพื่อเป็นการเตือนผู้สูงอายุให้รู้เท่าทันภาวะอาการดังกล่าว คนดูแลใกล้ชิดก็จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจกับภาวะนี้กันแต่เนิ่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน เพื่อคอยให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุที่คุณดูแล และเพื่อคอยเฝ้าสังเกตอาการร่วมด้วย โดยเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุก็มีดังนี้ ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ คืออะไร? ภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ (Angina) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดอย่างเพียงพอ ซึ่งไม่ได้มีผลแค่ในเรื่องของเลือดแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะสามารถที่จะส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งในการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเป็นผลอันตราย เนื่องจากจะทำให้หัวใจเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็วและที่สำคัญยังสามารถส่งผลต่อการเสียชีวิตได้ สาเหตุของภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง? สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดของผู้สูงอายุสามารถเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ อย่างที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ ซึ่งสามารถอธิบายสาเหตุเพิ่มเติมได้ดังนี้ 1.ปัญหาช่องปาก (oral disease) ช่องปากเป็นส่วนที่สามารถทำให้เชื้อโรคและแบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อเป็นโรคเหงือก ก็จะทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียภายในเหงือกและฟัน เมื่อรับประทานอาหารหรือกลืนน้ำลายก็จะทำให้แบคทีเรีย สามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง ซึ่งแบคทีเรียที่เข้าสู่กระแสเลือดก็จะเติบโตอยู่กับคราบที่มีการสะสมภายในหลอดเลือด เช่น ไขมัน หลังจากนั้นก็จะส่งผลปฏิกิริยาทำให้เลือดเป็นลิ่ม จนเข้าไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดทางเข้าหัวใจ 2.โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) สาเหตุจากการที่ไขมันเกาะตัวอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเป็นปกติ และกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับเลือดในปริมาณที่เพียงพอ จนส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย 3.ภาวะขาดออกซิเจนในเลือด (Hypoxia) ภาวะที่ร่างกายมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าปริมาณของออกซิเจนในเลือด แต่การไหลเวียนเลือดภายในหัวใจยังเป็นปกติ ก็จะเป็นการนำคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับหัวใจ ดังนั้น เมื่อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนในเลือด ก็จะทำให้การทำงานมีความผิดปกติและส่งผลเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ […]

kaewsai

August 25, 2018

10 โรงพยาบาลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด เสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

โรงพยาบาลรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ถือเป็นสถานพยาบาลที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตของคนไทย มักมาจากอาการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นลำดับต้นๆ โดยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งสาเหตุเกิดจากหลอดเลือดตีบตัน ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์ดูความเสี่ยง ต่อการป่วยด้วย โรคหัวใจและหลอดเลือด จึงเป็นเรื่องที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญ ซึ่งในประเทศไทยก็มีสถานพยาบาลจำนวนมาก ที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาอาการเจ็บป่วยโรคหัวใจ โดยเรามี 10 โรงพยาบาลรักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือดมาแนะนำให้รู้จักกันแล้วดังนี้ 10 โรงพยาบาลรักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือด มีที่ไหนบ้าง? 1.ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ให้บริการตรวจวินิจฉัยอาการผิดปกติด้านหัวใจทุกชนิด ให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีความซับซ้อน โดยทีมแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมากด้วยประสบการณ์ ให้การรักษาโรคหัวใจครอบคลุม ทั้งการรักษากลุ่มไฟฟ้าหัวใจ เช่น การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจและช่วยการบีบตัวของหัวใจ การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker) รวมทั้งรักษากลุ่มผู้ป่วยเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เช่น การขยายหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบผ่านการทำบอลลูนและขดลวด รวมทั้งยังรักษากลุ่มผู้ป่วยหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น การผ่าตัดปิดเส้นเลือด การผ่าตัดซ่อมหลอดเลือดสำหรับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีความซับซ้อน เป็นต้น ที่ตั้ง : เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ : […]

kaewsai

July 5, 2018

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อันตรายถึงแก่ชีวิต หากรักษาไม่ทันการณ์

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจที่คนไทยอาจยังไม่ค่อยคุ้นหูเท่าโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และโรคหัวใจโดยตรง แต่โรคนี้สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งในผู้หญิงผู้ชายมีอัตราการเกิดโรคนี้เท่ากันหมด เพียงแต่จะพบได้เป็นพิเศษในผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยบางคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รู้อีกทีก็ตอนที่ร่างกายแสดงอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง ในวันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับโรคนี้อย่างละเอียดมากขึ้น โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คืออะไร อาการ สาเหตุ และวิธีรักษาป้องกันทำได้อย่างไรบ้าง มาติดตามไปพร้อมกันเลยค่ะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คืออะไร? โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy) เป็นโรคที่กล้ามเนื้อของหัวใจ ทำหน้าที่บีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดการอักเสบขึ้น เป็นเหตุให้เลือดสามารถสูบฉีดได้น้อยลง และไปหล่อเลี้ยงอวัยวะบางส่วนไปพอ เป็นเหตุให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องของระบบหายใจ และหัวใจเต้นผิดปกติ บางครั้งหากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติและเสียชีวิตได้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบขึ้น ซึ่งก็คือ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเกิดจากเชื้อโรคบางชนิดที่เข้าสู่ร่างกาย การได้รับสารพิษ เช่น ยาเสพติดประเภทโคเคน สารหนู คาร์บอนมอนออกไซด์ เป็นต้น การได้รับการฉายรังสีใกล้ ๆ หัวใจ รวมไปถึงการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง ล้วนเป็นเหตุให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้รับบาดเจ็บและเกิดการเสียหายได้ การติดเชื้อ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากที่สุด โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส […]

kaewsai

January 5, 2018

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไรบ้าง?

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นอีกหนึ่งโรคอันตรายที่เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง ไม่แพ้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แบบเฉียบพลันเลย ปัญหาของโรคนี้ส่วนหนึ่งมักจะเกิดจากการไม่รักษาสุขภาพ บางคนสะสมความเครียดไว้เป็นเวลานาน บางคนก็เลือกทานอาหารแบบตามใจปาก โดยไม่สนใจว่าอาหารที่ทานเข้าไปให้ประโยชน์ หรือส่งผลเสียอย่างไรกับร่างกายบ้าง จนเป็นเหตุให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเราจะขอนำเสนอในภาพรวมว่า โรคนี้คืออะไร และมีความอันตรายมากน้อยเพียงใด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คืออะไร ? โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงที่จะทำหน้าที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการตีบ หรือตันขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากไขมันส่วนเกินของร่างกาย ที่ไปจับตัวอยู่ตามผนังหลอดเลือด จนทำให้เกิดการตกตะกอน หรือเกาะตัวเป็นชั้นหนากว่าเดิม ซึ่งมีผลให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากตามปกติ และทำให้ออกซิเจน ผ่านไปยังหัวใจได้น้อยลงกว่าเดิมด้วย ยิ่งหลอดเลือดหัวใจตีบมากเท่าไร ก็จะยิ่งส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลให้เกิดการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง จนถึงขั้นหมดสติได้ นอกจากนี้แล้ว ถ้าหากคราบไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดต่าง ๆ เกิดการแตกตัว และจับตัวกับเลือดจนกลายเป็นลิ่ม ไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดมากยิ่งขึ้น ก็อาจมีผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเกิดภาวะหัวใจวาย ที่มีโอกาสทำให้ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตกะทันหันได้ทันที สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ และสาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ กรรมพันธุ์ – หากมีบุคคลในครอบครัว […]

kaewsai

November 22, 2017

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (เฉียบพลัน) อันตรายเงียบที่คุณไม่เคยใส่ใจ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (เฉียบพลัน) เป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจที่เรามักจะพบเห็นได้ทั่วไปตามละคร หรือนิยายต่าง ๆ มากที่สุด ที่เมื่อถึงเวลาแสดงอาการ ผู้ป่วยก็จะมีอาการเจ็บปวดบริเวณหัวใจ จนถึงขั้นหมดสติได้ ซึ่งบางคนที่ได้เห็นก็อาจจะมีข้อสงสัยว่า โรคนี้เกิดขึ้นจากอะไร ความเครียดมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคนี้ได้จริงหรือไม่ และถ้าหากถึงขั้นต้องผ่าตัดจะมีโอกาสหายหรือเปล่า เราจึงได้รวบรวมข้อสงสัยทั้งหมดที่มีเกี่ยวกับโรคนี้ มาไว้ในบทความนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (เฉียบพลัน) คืออะไร ? โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (เฉียบพลัน) (Argina Pectoris) เกิดจากปัญหาสำคัญ ก็คือ การที่เลือดจับตัวกันเป็นลิ่มหรือเป็นก้อน จนไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงที่หัวใจตามปกติได้ รวมทั้งยังไม่สามารถถ่ายออกซิเจนไปได้ด้วย หากทิ้งไว้ระยะนานก็อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือที่เรียกกันว่าหัวใจวาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (เฉียบพลัน) นี้ เป็นโรคที่ได้รับการบันทึกไว้ว่า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก มีโอกาสเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่น่าแปลกใจก็คือ เป็นโรคที่มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ในบรรดาประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านการแพทย์แล้ว รวมทั้งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยด้วย ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (เฉียบพลัน) สำหรับข้อดีของโรคนี้นั้น มีอยู่อย่างหนึ่งคือ มักจะไม่เกิดกับผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง (ยกเว้นผู้ที่มีกรรมพันธุ์คนในครอบครัวเคยเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตด้วยโรคนี้มาก่อน) แต่สำหรับข้อเสียที่เรียกว่าสำคัญมาก ๆ คือ มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจำให้เกิดโรคนี้เป็นจำนวนมาก […]

kaewsai

November 21, 2017

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอันตรายไหม? ภัยใกล้ตัวที่ต้องใส่ใจ

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เป็นภาวะที่หลายคนอาจจะรู้สึกว่า อยู่ดี ๆ หัวใจก็เต้นเร็วผิดปกติ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลย ยืนเฉย ๆ ก็รู้สึกได้ หากนาน ๆ เกิดขึ้นสักครั้งแล้วหายไปเองภายในไม่กี่นาทีต่อมา ก็อาจไม่ค่อยกังวลเท่าใดนัก แต่ถ้าหากเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็เริ่มไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตัวเองจะเป็นโรคอะไรหรือเปล่า หรือจะมีผลข้างเคียงอะไรเกิดขึ้นบ้าง เราจึงขอสรุปเรื่องของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติมาให้ได้ศึกษากัน เพื่อจะได้รู้แนวทางว่า ควรปฏิบัติตัวอย่างไรหากมีภาวะนี้เกิดขึ้น ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คืออะไร? ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) เป็นภาวะผิดปกติของร่างกายชนิดหนึ่งที่เกิดจากการอยู่ดี ๆ หัวใจก็เต้นเร็วผิดปกติเอง โดยที่ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดการสูบฉีดของหลอดเลือด อย่างเช่น การออกกำลังกาย หรือการยกของหนักแต่อย่างใด บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้เองโดยเป็นการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อความเครียด หรือความตื่นเต้นต่อสถานการณ์ที่กำลังบีบบังคับอยู่ในขณะนั้น ๆ แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น การที่ต่อมไทยรอยด์ทำงานเกินปกติ (Hyperthyroidism) การเสียเลือดกะทันหันจากอุบัติเหตุ รวมทั้งการได้รับคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจากอาหารและเครื่องดื่มอีกด้วย สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ถึงแม้ว่าสาเหตุหลัก ๆ ของภาวะหัวใจเต้นเร็ว จะเกิดจาก 3 ปัจจัยข้างต้นดังที่บอกไป แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบอีก เพราะการทำงานของหัวใจนั้นจะมีระบบที่ทำงานคล้ายกับการส่งคลื่นสัญญาณแบบไฟฟ้า ไปยังระบบปั๊มเลือด […]

kaewsai

November 6, 2017