ฟันคุดเจ้าปัญหา แม้สาวๆ อยากจะมีฟันในปากครบตามจำนวนเพื่อการบดเคี้ยวที่สะดวกสบาย
แต่สำหรับเจ้าฟันคุดที่ขึ้นมา มันกลับไม่ได้สร้างประโยชน์ใดๆ ให้กับช่องปากของเราแม้แต่น้อย
แถมยังคอยสร้างปัญหา ตั้งแต่อาการเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงอาการระดับรุนแรงที่ต้องลากตัวเองไปพบทันตแพทย์ให้ช่วยทำการกำจัดออกให้
เชื่อว่าคนจำนวนหนึ่งยังเข้าใจผิดเรื่องฟันคุด หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปทำการตรวจรักษา ทำให้เกิดการลุกลาม
กลายเป็นภาวะอักเสบในช่องปาก อันตรายจนทำลายฟันซี่อื่นในบริเวณใกล้เคียงได้อย่างที่เราคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียวค่ะ
ฟันคุดคืออะไร ?
ฟันคุดคืออะไร ? ฟันคุดมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า “Impacted tooth”
เราย้อนกลับไปในสมัยโบราณก่อนว่า คนในยุคนั้นจะมีโครงสร้างขากรรไกรที่แตกต่างกับคนในยุคปัจจุบัน
ทำให้ไม่ค่อยพบปัญหาฟันเกินออกมา ด้วยการใช้ชีวิตที่ฟันเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีพ
คนในยุคอดีตจึงมีขากรรไกรที่ใหญ่และแข็งแรงมากกว่า เพราะต้องใช้ฟันในการฉีกและกัดอาหาร
แต่ภายหลังมนุษย์เริ่มมีพัฒนาการในการปรุงอาหารด้วยตัวเอง ทำให้อาหารที่มีความเหนียว ชิ้นใหญ่ หรือมีเปลือกหนา
กลายเป็นอาหารที่สามารถเคี้ยวง่ายขึ้นมาก กรามที่ใช้บดจึงถูกลดหน้าที่ลง เวลาผ่านไปก็เกิดวิวัฒนาการทำให้กรามที่ใช้บดเคี้ยวส่วนในสุดไม่ถูกใช้งาน
มีขนาดขากรรไกรเล็กลง ฟันกรามซี่สุดท้ายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ไม่สัมพันธ์กับขนาดขากรรไกรที่เล็กลง
ไม่มีพื้นที่ให้ขึ้น แต่ด้วยความพยายาม ฟันซี่นี้ค่อยๆ โผล่ออกมาในลักษณะของฟันเกิน
และเราเรียกมันว่าฟันคุดที่พบได้บ่อยกว่าในคนสมัยก่อนมากๆ การปล่อยทิ้งไว้ จนเกิดการอักเสบ
เสี่ยงที่จะทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
นอกจากนี้ฟันคุดยังสามารถแปลสภาพไปเป็นเนื้อร้าย หรือถุงน้ำได้อีกด้วย แต่ถือว่าเป็นอุบัติการณ์ที่พบได้น้อยมากๆ
ฟันคุดเป็นยังไง พบได้ในทุกคนไหม ?
ฟันคุดไม่ได้พบได้ในทุกคน แต่มักจะพบได้ในช่วงอายุ 16-25 ปี ลักษณะของซี่ฟันที่จะถูกเรียกว่าฟันคุด
คือฟันที่ไม่ขึ้นตามปกติภายในช่องปาก หรือจะเรียกได้ว่าเป็นฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้เรียกในทางการแพทย์ว่า Un-erupted tooth
โดยฟันคุด จะถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ
1.ฟันคุดที่เป็นคุดจริงๆ โผล่ออกมาให้เราเห็นที่ขากรรไกรด้านในสุด เป็นฟันที่พยายามงอกขึ้นมาให้โผล่พ้นเหงือกให้ได้
แต่เมื่อมันไม่สามารถโผล่ออกมาได้ดีๆ จึงทำให้เกิดการดันตัว พยายามแทรกจนเกิดการกระทบกับฟันข้างเคียง
เพราะพื้นที่ขากรรไกรไม่เพียงพอ เราสามารถพบฟันคุดได้บ่อยจากซี่ที่อยู่บริเวณฟันกรามล่างซี่ที่สาม
หรือฟันกรามล่างซี่สุดท้าย เรียกว่า “Lower third molar”
2.ฟันคุดที่ไม่ยอมโผล่ออกมา แต่จะฝังตัวอยู่ภายในกระดูกขากรรไกรด้านในใต้เหงือกลงไป
ฟันคุดชุดนี้จะเป็นซี่ที่อาจไม่พบอาการปวดใดๆ จะไม่เคลื่อนไหว นอกจากจะฝังตัวกดทับกับแนวเส้นประสาท จะเป็นฟันที่แตกต่างจากซี่ที่โผล่ออมา
ระดับความรุนแรงของฟันคุดที่ไม่ควรมองข้าม
1.ฟันคุดมีหลายระดับความรุนแรง ขึ้นอยู่กับลักษณะการเกิดด้วย หากเป็นฟันคุดที่พยายามแทรกตัดออกมาได้พอดี อยู่ซี่ด้านในสุด ขึ้นมาแบบตรงๆ ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา
มักจะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ แต่แพทย์ก็ยังคงยืนยันให้กำจัดออก ก่อนที่มันจะเกิดอาการ
2.คนส่วนใหญ่ที่มีฟันคุดแล้วไม่รู้สึกปวด จะปล่อยปละละเลย ซึ่งในระหว่างนั้นฟันซี่นี้ก็จะเติบโตมากขึ้น
จนไปดันเอาฟันข้างเคียง ทำให้มีเศษอาหารต่างๆ สะสมได้ง่าย เสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ฟันผุ
เป็นโพรงเข้าไปด้านในกับซี่ฟันที่ติดกัน เพราะการแปรงฟันที่เข้าถึงได้ยาก
3.ฟันคุดอาจส่งผลให้กระดูกขากรรไกรผิดรูป ฟันหน้าบิดอย่างรุนแรง และทำให้ใบหน้าผิดรูป
4.เกิดอาการปวด เหงือกบวม ทำให้ใกล้เคียงแตก เพราะเกิดการดันตัวจนไม่มีพื้นที่มากพอสำหรับฟันซี่อื่น
5.ทำให้ฟันซี่อื่นๆ ที่เคยเป็นระเบียบถูกเบียดจนเสียรูปทรงไปทั้งปาก แม้ในช่วงแรกจะยังไม่มีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น
แต่หากปล่อยทิ้งเอาไว้นานๆ จะเหมือนระเบิดเวลาจนต้องจัดฟันกันใหม่เลยทีเดียว
6.ทำให้บริเวณเหงือกที่มีฟันคุด เกิดการอักเสบ หากไม่ทำการรักษาจะตามมาด้วยอาการเหงือกบวมที่เห็นได้ชัดบริเวณขากรรไกรจากด้านนอก
เป็นฝีในช่องปาก ไม่สามารถอ้าปากกว้างได้ การติดเชื้อที่รุนแรงจะส่งผลให้มีไข้อ่อนๆ เพราะเชื้อแบคทีเรียกระจายเข้าสู่ร่างกาย
ปวดฟันคุดทําไงดี มีวิธีรักษาฟันคุดอย่างไรได้บ้าง ?
ทันตแพทย์จะทำการตรวจฟันคุดภายในช่องปากก่อนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร โดยการตรวจที่บริเวณฟันกรามล่างสามซี่เป็นหลัก
ซึ่งจะมีทั้งฟันที่โผล่ออกมาและยังไม่โผล่ออกมา หรือขึ้นมาเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น บางที่พบความผิดปกติ
ฟันซี่ใดซี่หนึ่งหายไปบริเวณเหงือก สันนิษฐานได้ว่านั่นอาจเป็นฟันคุดที่อยู่ใต้ชั้นเหงือก
การตรวจหาจึงจำเป็นต้องทำการ X-ray เพื่อจะได้มองเห็นส่วนของฟันคุดที่อยู่ใต้ชั้นเหงือก
ลักษณะที่ขึ้น มุมองศาในการเติบโต และขนาด เพื่อวิเคราะห์ระดับความอันตราย จะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป
การรักษาฟันคุด ก็คือกำจัดทิ้งเมื่อพบ ไม่ควรปล่อยให้ลุกลามจนปวดฟันคุดและเหงือกบวม เกิดเป็นการอักเสบที่รักษาได้ยุ่งยากมากขึ้น
Photo Credit : smileworks.id
ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยกำจัดออกไปก่อนที่จะเกิดอาการปวดขึ้นมา การถอนฟันคุดออกตอนอายุยังน้อย
จะมีผลดีคือช่วยทำให้แผลหายเร็ว การถอนทำได้ง่าย ลดอาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ดี
จะเห็นได้ว่าฟันคุดเปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่พร้อมจะทำให้ระบบการเคี้ยวอาหารภายในช่องปากของสาวๆ เสียหายได้ในอนาคต
หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ใส่ใจ ทางที่ดีควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกปีอย่างสม่ำเสมอ
เพราะบางครั้งฟันคุด ก็ไม่ได้สัญญาณเตือนล่วงหน้า พบกันอีกทีอาจรุนแรงจนต้องรักษาให้วุ่นวาย
เสียค่าใช้จ่าย แล้วยังต้องมาทรมานกับอาการเจ็บปวดตามมา การถอนฟันคุดออกก่อนช่วงเวลาที่มันจะยุ่งยากไปกว่านี้
จึงเป็นทางเลือกที่ดีมากกว่าอย่าง แถมยังการผ่าฟันคุดช่วยทำให้หน้าเรียวขึ้นได้แบบที่สาวๆ ต้องการอีกด้วย (อ่านเพิ่มเติม : ผ่าฟันคุดหน้าเรียว )